การใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชนของเทศบาลตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชนของเทศบาลตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชนของเทศบาลตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานเทศบาล เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลน้ำน้อย จำนวน 86 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 10 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชนของเทศบาลตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านสีลสามัญญตา ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านทิฏฐิสามัญญตา และ ด้านสาธารณโภคิตา และ 2) แนวทางส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชนในภาพรวมเจ้าหน้าที่ควรให้บริการอย่างมีกัลยาณมิตรรวมถึงการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้รับบริการเฉพาะราย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการแก่ประชาชน ดังนี้ (1) ด้านเมตตากายกรรมเจ้าหน้าที่ควรให้บริการอย่างเป็นมิตรและมีควรอ่อนน้อมถ่อมตนและสัมมาคารวะ (2) ด้านเมตตาวจีกรรม เจ้าหน้าที่ควรให้บริการด้วยการพูดที่สุภาพและเป็นมิตรเป็นกันเองกับประชาชน (3) ด้านเมตตามโนกรรม เจ้าหน้าที่ ควรมีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับบริการไม่แบ่งแยกและนำเสนอแต่สิ่งดีแก่ประชาชน (4) ด้านสาธารณโภศิตา เจ้าหน้าที่ควรช่วยเหลือกับผู้รับบริการในทุกช่องทางเพื่อความสะดวกของผู้รับบริการ (5) ด้านสีลสามัญญาตา เจ้าหน้าที่ควรให้บริการตามหลักการและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และ (6) ด้านทิฏฐิสามัญญตา เจ้าหน้าที่ควรร่วมแลกเปลี่ยนและรับฟังสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการเพื่อหาแนวทางให้บริการที่ตรงประเด็นมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ธรรมนูญ มูณีเกิด และคณะ. (2563). การใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 18-34.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
นันทวัฒน์ บรมนันท์. (2553). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พรรณเพ็ญแข โฉมอ่อน. (2564). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(3), 566-580.
พระครูวิจิตรปัญญาภรณ์. (2564). หลักสาราณียธรรมกับการบริหารเทศบาลตำบลหนองสองห้อง. วารสารศึกษิตาลัย, 2(2), 29-42.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและพัฒนาสังคม.กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. ประไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
วุฒิสาร ตันไชย. (2551). ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: ราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc-Graw Hill.
Likert, R. A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.
McCullough, J. S. (1983). General concepts and Issues. Urban Training Management Trainings Program Research Triangle Institute.
Weber, M. (1996). The theory of Social and Economic Organization Trans (4th ed.). NY: The Free Press.