ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ความงามที่สะอาดของ Generation Z ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลโดยใช้แบบจําลองพฤติกรรมผู้บริโภคเอส-โอ-อาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Clean beauty products ของ Generation Z ของผลิตภัณฑ์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคผ่านปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Clean beauty products กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ คือ ผู้ที่เคยศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Clean beauty products มีอายุตั้งแต่ 18-24 ปี อาศัยภายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 330 คน เครื่องมือทีี่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 โดยผ่านโมเดลเอส-โอ-อาร์ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงผลการวิจัยของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Clean beauty products ผ่านโมเดลเอส-โอ-อาร์ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรปัจจัยด้านแรงกระตุ้น (S - Stimuli) ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับออร์แกนิก, ด้านสารสกัดจากธรรมชาติ, ด้านประสบการณ์, ด้านการรับรู้คุณภาพ, ด้านผลิตภัณฑ์ดึงดูดประสาทสัมผัส นั้นส่งผลต่อปัจจัยด้านกระบวนการภายใน (O - Organism) ได้แก่ ด้านคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์และคุณค่าเชิงสุนทรียรส แต่ในขณะเดียวกันด้านผลิตภัณฑ์ดึงดูดประสาทสัมผัสนั้นส่งผลต่อคุณค่าเชิงสุนทรียรสเพียงด้านเดียว และตัวแปรปัจจัยด้านกระบวนการภายใน (O - Organism) ด้านคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์และด้านคุณค่าเชิงสุนทรียรสที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านการตอบสนอง (R - Response) ผลการวิจัยพบว่าส่งผลการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ Clean beauty productsของ Generation Z
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ส่องเทรนด์ “ผลิตภัณฑ์ความงาม” ปี2022 ทำไมต้อง “Clean beauty product”?. จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/993818
จิฎาภา จิ๋วเจริญ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2565). อิทธิพลกลุ่มอ้างอิง สถาวะทางอารมณ์ และพฤติกรรมการซื้อโดยฉับพลันที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในแอปพลิเคชัน SHOPEE ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(3), 15-29.
จิตรลดา เดชชูไชย. (2557). การศึกษาผลกระทบของการรับรู้และทัศนคติต่อสิ่งดึงดูดใจด้านอารมณ์ ในภาพยนตร์โฆษณาประกันชีวิตต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ทิพาภรณ์ ประเสริฐแช่ม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถจักรยานยนต์ของลูกค้าบริษัทสินพลอินเตอร์เซอร์วิส จำกัด. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(3), 88-97.
นงนภัส ว่องไว. (2562). การศึกษาปัจจัยทางทัศนคติด้านคุณค่าเชิงสุนทรียรส (Hedonic value) และด้านคุณค่าเชิงอรรถประโยชน์(Utilitarian value)ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเก้าอี้สานักงานของผู้บริโภค. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปี การศึกษา 2562, วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.
นพวรรณ เพ็ชรวงศ์. (2565). อิทธิพลความน่าเชื่อถือ คุณภาพของเว็บไซต์ OpenSea ความมีชื่อเสียงของศิลปินและคุณภาพของผลงานศิลปะรูปแบบ NFT ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบนเว็บไซต์ OpenSea. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริวรรณ วิมูลชาติ. (2560). การศึกษาถึงกลยุทธ์การตลาดสาหรับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก (Organic Product Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา กลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามและดูแลร่างกาย (Beauty and Personal Care). การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สปริงนิวส์. (2565). Gen Z กังวลเกี่ยวกับปัญหา “ความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม” มากที่สุด. จาก https://www.springnews.co.th/news/826064
Anderson, K. C., Knight, D. K., Pookulangara, S. and Josiam, B. M. (2014). Influence of hedonic and utilitarian motivations on retailer loyalty and purchase intention: A facebook perspective. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(5), 773–779.
Chryssohoidis, G. M. and Krystallis, A. (2005). Organic consumers’ personal values research: Testing and validating the list of values (LOV) scale and implementing a value-based segmentation task. Food Quality and Preference, 16(7), 585-599.
Vergura, D. T., Zerbini, C. and Luceri, B. (2020). Consumers’ attitude and purchase intention towards organic personal care products. An application of the S-O-R model. SINERGIE Italian Journal of Management, 38(1), 121-137. DOI: https://doi.org/10.7433/s111.2020.08
Mathwick, C., Malhotra, N. and Rigdon, E. (2001). Experiential value: conceptualization, measurement and application in the catalog and Internet shoppingenvironment. Journal of Retailing, 77(2001), 39-56.
Pines, M. (2007). It’s All in the Brain-Sensing Change in the Environment.
Todd, A. M. (2005). The aesthetic turn in green marketing: Environmental consumer ethics of natural personal care products. India: Indiana University Press.