การพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ประกอบของนวัตกรรมการบริหารการศึกษา และการพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางในการนำนวัตกรรมการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลมาพัฒนาการบริหารการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพในงานการบริหาร 4 ฝ่ายในสถานศึกษา และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแห่งศตวรรษที่ 21 ในยุคดิจิทัล ซึ่งระบบการศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน เปิดทางเลือกให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ให้เกิดความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ถนัดและสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถดูแลสุขภาวะของตนเองและครอบครัว ในขณะเดียวกันต้องมุ่งเน้นการฝึกฝนอบรมผู้เรียนให้มีทักษะทางดิจิทัล เทคโนโลยี คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เป็นคนดีมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ท่ามกลางภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน วัตถุประสงค์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้ เมื่อผู้บริหารการศึกษาในสถานศึกษาทุกรูปแบบ และครูผู้สอนซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำคัญต้องเรียนรู้ พัฒนา และสร้งสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการบริหารการศึกษา และให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งยุคดิจิทัลนี้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง จากประสบการณ์การบริหารการศึกษาของผู้เขียนในสถานศึกษามากกว่า 7 แห่งและมากกว่า 30 ปีในกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกด้วยตนเอง และจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกที่มีประสบการณ์ในการบริหารการศึกษามากกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่เคยได้รับรางวัลพระราชทาน และผลการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาระดับดีเยี่ยมหรือดีมาก อีกทั้งตลอดเวลาในการบริหารการศึกษาของผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจากงานวิจัยที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนได้สังเคราะห์ และวิเคราะห์ สรุปเป็นแนวคิดของผู้เขียนว่าองค์ประกอบในการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลนี้ก็คือ ทฤษฏีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแบบเครือข่ายการศึกษา ซึ่งมีเครือข่ายการศึกษาที่สอดคล้องกันอยู่ 5 เครือข่ายด้วยกันคือ 1) เครือข่ายการศึกษา 2) เครือข่ายสังคม 3) เครือข่ายชุมชน 4) เครือข่ายผู้ปกครอง 5) เครือข่ายข้อมูลทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร องค์ประกอบนี้ถูกนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอในหลากหลายสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องจนสถานศึกษาเหล่านั้นได้รับรางวัลพระราชทาน และผลการประเมินดีเยี่ยม หรือดีมาก ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้และพัฒนาในงานการบริหารการศึกษาจนเกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องมามากกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล โรคระบาด Covid-19 วิถีชีวิตแบบ New Normal โดยเฉพาะด้านการบริหารการศึกษา ผู้เขียนจึงนำเสนอแนวคิดที่เกิดผลเป็นรูปธรรมที่มีระยะเวลาประเมินผลได้ชัดเจนแห่งยุคดิจิทัลนี้มาแบ่งปัน โดยนำเสนอลงในบทความวิชาการเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลฉบับนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. (16 พฤษภาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก หน้า 29-30.
กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2560). การสร้างและการบริหารเครือข่ายสถาบันนโยบายสาธารณะ. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.
ชิงชัย ทิพย์มณฑา. (2560). “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” การบริหารแบบมีส่วนร่วม PPR-Podded Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ. สืบค้น 28 ต.ค. 2563, จาก http://www.thaischool1.in.th/_files_school/52100509/workteacher/52100509_1_20180704-140654.pdf
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2563). HR การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารฅน. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.khonatwork.com/post/digital-economy-digital-hr
ทศพร แสงสว่าง. (2563). แผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 และแผนปฏิบัติการประจำปีด้านการจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด.
ปณิตา เกตุแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ความจำเป็นในการมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรม. ในแนวคิดทฤษฎีการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา.การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
นัสมาน ดาโอะ. (2563). จริยธรรมสำหรับผู้บริหารและความเปนนักบริหารมืออาชีพ. ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนกงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.
พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ (มาตรา 6 พ.ศ. 2542). ราชกิจจานุเบกษา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545).
ภคพร เลิกนอก. (2563). ด้านการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
วิไล ปรึกษากร. (2558). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติโดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ. (ฉบับปรับปรุงราชกิจจานุเบกษาตอนพิเศษ 54 ง. ราชกิจจานุเบกษา. 25 กุมภาพันธ์ 2564).
สิน งามประโคน. (2562). การบริหารการศึกษา: แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6(3), 271-283.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (School Management in Digital Era). สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir
Cordell, R. (2013). Information literacy and digital literacy: Competing or complementary? Communication in Information Literacy, 7(2), 177-183.
Gilster P. (1997). Digital literacy. NY: Wiley.
Horton, F. W. (2013). Overview of information literacy resources worldwide. Paris: UNESCO. International.
Licht, A. H., Tasiopoulou, E. & Wastiau, P. (2017). Open book of educational innovation. Brussels: European Schoolnet.
Massie, J.L. & Douglas, J. (1981). Management: A Contemporary Introduction (3rd ed). NJ: Englewood.
Shepherd, J. (2004). What is the digital era?. In Social and economic transformation in the digital era. IGI Global.