การปฏิรูปองคาพยพขององค์กรในระบบราชการไทย

Main Article Content

อิทธิชัย สีดำ

บทคัดย่อ

เนื่องจากระบบราชการมีขนาดใหญ่ตามอายุที่เพิ่มขึ้น มีการแบ่งโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ที่ซับซ้อน ส่งผลให้มีสายการบังคับบัญชาและการกำกับดูแลหลายชั้น เพราะฉะนั้นการทำงานของระบบราชการจึงมีขั้นตอนมาก ใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน ล่าช้า นอกจากนี้ด้วยเหตุที่ระบบราชการมีขนาดใหญ่จึงส่งผลให้ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถกำกับดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างครบถ้วนจนเกิดความเสียหายต่องานและเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเกิดขึ้น การขยายตัวของระบบราชการยังเป็นไปอย่างไร้ทิศทางจึงส่งผลให้เกิดหน่วยงานขึ้นมาจำนวนมากโดยไม่ได้ยุบเลิกหน่วยงานเก่าลง ส่งผลให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ประสบการณ์ในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรไทยในอดีตเป็นอุทาหรณ์ว่าการปฏิรูปเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องที่ยากต่อการสร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะข้าราชการที่คุ้นเคยกับการปฏิบัติงานตามระบบเดิมมานาน จึงมีผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์โดยตรง


            ดังนั้นการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรของระบบราชการไทยจึงต้องค่อยเป็นค่อยไปและมีการปรับปรุงในเรื่องดังต่อไปนี้ 1) ความสลับซับซ้อนของโครงสร้างองค์กร ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงการแจกแจงตามแนวนอน ได้แก่การแบ่งงานตามความถนัด และการแบ่งงานออกตามแผนงาน และการพิจารณาแจกแจงตามแนวตั้ง ได้แก่ จำนวนลำดับขั้นการบังคับ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับช่วงการควบคุม 2) ความเป็นทางการ จะศึกษาถึงการกำหนดมาตรฐานการทำงาน กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์กร 3) การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ  จะศึกษาถึงระดับความมากน้อยที่อำนาจอย่างเป็นทางการในการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ อยู่ที่ใด การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรของระบบราชการไทยจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต้องการปฏิรูปอย่างแท้จริง รวมถึงจะได้ทราบว่าปัญหาและอุปสรรคของโครงสร้างองค์กรแบบดั่งเดิมมีอะไรบ้าง และถ้าหากว่ามีการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรแบบใหม่จะสามารถช่วยลดปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร ดังนั้นแล้วในบทความนี้จะนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างองค์การของระบบราชการไทยเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งใช้ทฤษฎีองค์การเป็นฐานในการวิเคราะห์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2558). การปฏิรูประบบราชการไทยและผลกระทบ. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2565, จาก http://file.siam2web.com/trdm/journal/201331_83108.doc.

บุญศรี ทองผ่องสวัสดิ์ และสุกัญญา วิเชียรกร. (2551). การเตรียมแนวทางเพื่อการบริหารราชการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). การบริหารจัดการภาครัฐในยุคโลกาภิวัตน์: ระบบตลาด การจัดการ สมยัใหม่การมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนนิยม. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gouldner, Alvin, N. (1954). Pattern of Industrial Bureaucracy. NY: The Free Press.

Jones, Gareth R. (1998). Organization Theory: Text and Cases. Reading, Mass: Addison Wesley.

Merton, Robert K. (1940). Bureaucratic Structure and Personality. Social Forces,18(4), 560-568.

Mintzberg, Henry. (1993). Structure in Five designing Effective Organization. NJ: Prentice-Hall Inc.

Naisbitt, John. (1984). Megatrends: Ten New Directions Transforming Our lives. Uk: Macdonal & Co.

Selznick, Philip. (1949). T.V.A and the Grass Root. Berkeley: University of California Press.

Thomson, James D. (1961). Organization in Action. NY. McGraw-Hill.

Weber, Max. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. NY: Free Press.