การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาการบริหารงานพัสดุ ของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อศึกษาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเพื่อให้ครอบคลุมถึงเนื้อหาในการศึกษาได้อย่างครบถ้วน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมแบบเก็บข้อมูลครั้งเดียว (One-shot case study) เพื่อสำรวจความคิดเห็นและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยภาพรวมการบริหารงานพัสดุหลังการจัดกรรมจากการสัมภาษณ์แล้วมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดย 3 อันดับแรกได้แก่ การบริหารงานพัสดุจะต้องมีความเสมอภาค รองลงคือ การสั่งการ การวางแผน การจัดองค์การ และการกำหนดสายการบังคับบัญชา ตามลำดับ แต่เมื่อสังเกตแล้วหลังจากการจัดกิจกรรมดังกล่าว ในทั้งรายข้อมีค่าคะแนนที่สูงขึ้นนั้นแสดงว่ากิจกรรมประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับของผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในวิทยาลัยเป็นอย่างดี สำหรับการวิจัยครั้งต่อไปควรวิเคราะห์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานในหน่วยงานอื่นๆ เช่น วิชาการและวิจัย อาคารและสถานที่ กิจการนิสิต บริการวิชาการ เป็นต้น โดยนำผลที่ได้จากการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ข้างต้นมาทดสอบเพื่อยืนยันทฤษฎีที่ค้นพบข้างต้นด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) ต่อไป นอกจากนี้ ควรนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์สกัดปัจจัย (Factor Analysis) มาต่อยอดด้วยการหาอิทธิพลหรือปัจจัยใดที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมบัญชีกลาง. (2561). การบริหารพัสดุภาครัฐภายใต้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม2561. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/024/13.PDF
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2538). การวิเคราะห์สถิติเพื่อธุรกิจ: สถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ กิตติเขมากร. (2553). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์. (2543). การพัฒนาระบบการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอาชญากรรมในสถานีตำรวจ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 71-78.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. สมชาย หิรัญกิตติ. (2538). การบริหารสำนักงานแบบใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา
อนันต์ อนันตพฤทธิ์. (2542). การพัฒนาระบบจัดการเอกสารในสำนักงาน กรณีศึกษา: สำนักงานศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. สืบค้น 22 สิงหาคม 2553, จาก http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43376
Managementstudyhq. (2019). Principles of Management by Henri Fayol. from https://www.managementstudyhq.com/henri-fayol-principles-of-management.html
Tariq Shehab, Osama Moselhi and Elhami Nasr. (2009). Barcode-Assisted System for Document anagement of Construction Projects. International Journal of Construction Education and Research, 5(1), 45-60.