การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

Main Article Content

โสรัตน์ มงคลมะไฟ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook, Line, Instagram, YouTube, TikTok, Twister ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 276 คน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.5 มีอายุในช่วง 21-22 ปี จำนวน 192 คน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.6 ส่วนมากสังกัดสาขาวิชาการจัดการและสาขาวิชาการบัญชีรวมจำนวน 208 คน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 51.6 ส่วนใหญ่กำลังเรียนอยู่ในช่วงชั้นปีที่ 4 จำนวน 118 คน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 29.3 รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองส่วนมากเฉลี่ยอยู่ประมาณ 5,001-10,000 บาทต่อเดือนจำนวน 199 คน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.4 และผลการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์จำนวน 402 คน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 99.8 มีปริมาณการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook, Line, Instagram, Youtube, TikTok, Twitter ทุกวันเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ส่วนด้านความคิดเห็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมครอบครัว กับสังคมเพื่อน กับสังคมการศึกษา ใดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดสามารถเรียงลำดับดังนี้ อันดับแรกผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมเพื่อนค่าเฉลี่ย 4.32 รองลงมาผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมการศึกษาค่าเฉลี่ย 4.29 และลำดับท้ายสุดผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมครอบครัวค่าเฉลี่ย 4.24 ตามลำดับ ผลการทดสอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฉพาะ twister และ Facebook ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ส่วนการใช้สื่อสังคมออนไลน์ line, Instagram, YouTube, TikTok มีผลต่อความสัมพันธ์กับสังคมครอบครัว สังคมเพื่อน สังคมการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัตติกา แก้วมณี. (2561). การเปิดรับสื่อสังคม การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัญญาณัฏฐ์ ธเนศฉัตรเจริญ. (2560). ทัศนคติและการเปิดรับสื่อโฆษณาของผู้โดยสารบนรถไฟฟ้าบีทีเอส. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด, คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

นนทรัฐ ไผ่เจริญ. (2557). การศึกษาการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network). การศึกษาฉพาะบุคคล ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา Facebook. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ, สกุลศรี ศรีสารคาม, จันทรา วัฒนากุล และบุณยศิษย์ บุญโพธิ์. (2559). การส่งเสริมแนวทางการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการรายงานข่าวในยุคเทคโนโลยีหลอมรวม. สืบค้น 1 มิถุนายน 2563, จาก https://bit.ly/3jgBObt

เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2563). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. NJ: Prentice-Hall

Yoon, H. Y. (2013). จับตาไลฟ์สไตล์การใช้งานออนไลน์เข้าถึงเมื่อ. สืบค้น 1 มิถุนายน 2563, จาก https://thumbsup.in.th/2013/02/seniors-boomersinternet-usage/

Yoon, H. Y. (2016). User acceptance of mobile library applications in academic libraries: an application of the technology acceptance model. The Journalof Academic Librarianship, 42(6), 687-693.