การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน

Main Article Content

หฤทัย สมศักดิ์
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นการศึกษาและบูรณาการเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยอาเซียน การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ได้ปรับแนวทางเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก โดยการประกันคุณภาพการศึกษามีระบบย่อย 2 ระบบ คือ การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance: IQA) และการประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยการประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance:  IQA) และกระบวนการประเมินคุณภาพการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดไว้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา และสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผู้เรียนที่สถานศึกษาผลิตขึ้นที่เป็นไปตามมาตราฐาน เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) โดยมีระบบที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในการเก็บรวบรวมงานประกันคุณภาพทางการศึกษา รวมเข้าด้วยกันโดยผ่านตัวจัดการระบบฐานข้อมูลที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) เพื่อความสะดวกต่อการเรียกใช้ ให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีความถูกต้องและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ที่สามารถกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพทางการศึกษาที่ถูกจัดอยู่ใน ฐานข้อมูลให้เป็นระบบงานสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤชสุวัชร์ ประโยชน์พิบูลผล. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (23 กุมภาพันธ์ 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 11 ก หน้า 3.

กฤดา นุตพันธุ์. (2540). การจัดองค์การเพื่อบริหารระบบสารสนเทศ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หน่วยที่ 15. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ. (2542). คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : บริษัท เคทีพีคอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด.

จุฑาวุฒิ จันทรมาลี. (2565). การออกแบบฐานข้อมูล. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565, จาก http://dusithost.dusit.ac.th/~juthawut_cha/download/OAD_L7.pdf

ไชยา ภาวะบุตร. (2542). การจัดการฐานข้อมูล. สกลนคร: สถาบันราชภัฏสกลนคร.

ไพโรจน์ คชชา. (2540). คู่มือการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(MIS) ด้วยโปรแกรม Access. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2564). แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/book/53/b6_53.pdf

วันชัย ศิริชนะ. (2562). ประสบการณ์การบริหารอุดมศึกษากับมุมมองความท้าทายในปัจจุบัน. จาก http://www.digi.library.tu.ac.th/index/0200/11-2-Nov-2551/02PAGE12-PAGE28.pdf

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อารักษ์ พิทักษ์กุล. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการใบเสนอราคา กรณีศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซิลเวอร์ เกท เอ็นยิเนียริ่ง. สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม, คณะวิศวะกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เอกชัย เจริญนิตย์. (2542). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาวิชาการ.

ASEAN University Network. (2020). The Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0. ASEAN University Network 17th Floor, Jamjuree 10 Building Chulalongkorn University Phayathai Road Bangkok 10330 Thailand. Retrived July 4, 2022, from https://www.aunsec.org/discover-aun/thematic-networks/aun-q/aun-qa-assessors

Harvey, L. (2004). Quality assurance in higher education: Some international trends. Retrieved July 26, 2015, from https://www.qualityresearchinternational.com/Harvey%20papers/Harvey%202004%20QA%20in%20HE%20some%20international%20trends.pdf.

McBurnie, G. and Ziguras, C. (2007). Transnational education: Issues and trends in offshore higher education. London: Routledge.

Office of The Education Council. (2007). Strategic plans of education reform in the three southern border provinces for peace (2005-2008). Bangkok: Office of the Education Council.

Stensaker, B., Langfeldt, L., Harvey, L., Huisman, J., and Westerheijden, D. (2011). An in-depth study on the impact of external quality assurance. Assessment & Evaluation in Higher Education, 36(4), 465-478.

Virginia. A., Miralao, C. & Lucille C. Gregorio. (2012). "Synthesis of country reports and general trends and needs" Curriculum Changes Reforms in East and South-East Asia. from http://www.ibe.unesco.org/curriculum/Asia%20Networkpdf/bkrep3.pdf.

Yung-Chi Hou, A., Hill, C., Hui Jung Chen, K. and Tsai, S. (2018). A comparative study of international branch campuses in Malaysia, Singapore, China, and South Korea: regulation, governance, and quality assurance. Asia Pacific Education Review, 19, 543-555. DOI. https://doi.org/10.1007/s12564-018-9550-9.