กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม

Main Article Content

สุชาติ หูทิพย์
พิภพ วชังเงิน
ทนง ทองภูเบศร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิด 1) การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม 2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม และ 3) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม ผลของการศึกษา พบว่า กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย แนวคิด 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาสาเหตุของปัญหา 2) การค้นหาแนวทางการพัฒนา 3) การพัฒนาตัวบุคคล และ 4) การคิดสร้างนวัตกรรม โดยการศึกษาพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม การนำองค์การอย่างสร้างสรรค์ สื่อวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ และองค์การแห่งนวัตกรรม


กรอบแนวคิดการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมาย โครงสร้างองค์การ ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลและการยอมรับ การสื่อสาร การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร การประเมินและการลำเลียงความคิด ผู้นำ บุคลากร เครือข่าย วัฒนธรรมและค่านิยมร่วมในการกำหนดกลยุทธ์พิจารณาจากรูปแบบองค์กรนวัตกรรม การวางแผนองค์การ การนำองค์การ การจัดการองค์การ การควบคุมองค์การ โดยเน้นความเหมาะสม การใช้ประโยชน์ ความสอดคล้อง และความคุ้มค่า ซึ่งได้มาโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลชนก ชมภูพันธุ์. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 148-155.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2560). การประชุมวิชาการพะเยาวิจัย. 26-27 มกราคม 2560.

กัญชพร ค้าทอง. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(3), 446.

ขวัญชนนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(7), 153-154.

จักภัทสรัณย์ ไตรรัตน์ และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2563). การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม กรณีศีึกษา: โรงเรียนในสหวิทยาเขตวิภาวดี. นำเสนอใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, 1903.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การศึกษาอิสระ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์เชิงปริมาณผสานเชิงคุณภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 11(1), 126-127.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 330-341.

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ และชนิตา พิลาไชย. (2563). นวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบที่ส่งเสริมทักษะการคิด. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 35.

พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์: เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(2), 55-75.

วิไล ปรึกษากร และ นพดล เจนอักษร. (2561). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. 9(1), 170.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). สถานการณ์การศึกษาไทยที่ควรรู้ เพื่อเป้าหมายการศึกษาที่ยั่งยืน. สืบค้น 12 ตุลาคม 2565, จาก https://research.eef.or.th

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 121-123.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุริยา สรวงศิริ และสิทธิชัย สอนสุภี (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. การประชุมทางวิชาการและเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, วันที่ 25 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2569. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกไทยหวาน จำกัด.

อรชร ปราจันทร์ และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น, 12(1), 156-157.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี สุเมธ งามกนก และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 207-208.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adams, R. & Bessant, J. (2006). Innovation management: A review. International. Journal of Management Reviews, 8(10), 21-47.

Adriana Denisa manea. (2015). Innovation in the Management of Educational Institutions. International conference “Education, Reflection, Development”, ERD 2015, 3-4 July 2015, Cluj-Napoca, Romani.

Antonio Adrián Arciénaga Morales., et., all. (2018). Technology and Innovation Management in Higher Education. Cases from Latin America and Europe Adm. Sci. 8(11), 1-2.

Australian Government, Department of Education. (2009). Developing Innovation Skills: A guide for trainers and assessors to foster the innovation skills of learners through professional practice. Retrieved 2021, 20 March, from https://oce.uqam.ca/wpcontent/uploads/2015/01/1309_developing_innovation_skills.pdf.

Bain and Company. (2018). Management Tools & Trends. Retrieved 2021, 20 March, from https://www.bain.com/insights/management-tools-and-trends-2017/

Cortina, L. (2011). School Administrators and the Professional Learning of General Education Teachers Related to Gifted Education: A Delphi Study. Seton Hall. University Dissertations and Theses (ETDs).

Hoidn, S., & Karkkaunen, K. (2014). Promoting skill for innovation in higher education: A literature review on the effectiveness of problem-based leaning and of teaching behaviors. N.P.: OECD Education Working Paper.

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results: Centre for creative leadership. Retrieved 2021,1 March, from http://www.ccl.org/leadership/pdf/research/InnovationLeadership.pdf.

Hughes, Chuck. (2003). What does it really takes to get into the Ivy League & other highly selective colleges. NY: McGraw- Hill.

Jingyuan Zhao. (2009). School Innovative Management Model and Strategies: The Perspective of Organizational Learning. Information systems Management, 26(3), 1.

Lee Chong Loanna, s.k. & Benza, Rou. (2015). Teaching innovation skill: Application of design thinking in graduate: marketing course. Business Education Innovation Journal, 71), 43-49.

Yunus Emre OMUR, Turkan ARGON. (2016). Teacher Opinions on the Innovation Management Skills of School Administrators and Organizational Learning Mechanisms. Eurasian Journal of Educational Research, 6(6), 243-262.