การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

Main Article Content

สุภาภรณ์ สุวรรณชะรา
ภาวิน ชินะโชติ
ภูริพัฒน์ ชาญกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (3) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร งานวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี เชิงปริมาณ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 99 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 7 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์โดยการสังเคราะห์ข้อความและตรวจสอบยืนยัน พบว่า (1) บุคลากรสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) มีความต้องการที่จะพัฒนาสมรรถนะทั้งหมด 12 สมรรถนะ โดยสมรรถนะที่ต้องการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การประเมินคุณภาพ และความสามารถในการวางแผน (2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) มี 10 รูปแบบ ได้แก่
การฝึกอบรม การเสนอแนะ การมีพี่เลี้ยง การฝึกงานในสถานการณ์จริง การประชุม การศึกษาดูงาน การสัมมนา การศึกษา
การปฐมนิเทศ และ การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร คือ ควรทำแผน
การพัฒนารายบุคคลระยะสั้น (รายปี) และระยะยาว (2-3 ปี) โดยผูกโยงกับเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และพัฒนาสมรรถนะให้ครอบคลุม สมรรถนะหลัก  สมรรถนะหน้าที่ และสมรรถนะการจัดการ โดยกำหนดงบประมาณสำหรับการพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคลให้ชัดเจน และยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

เตือนใจ ดลประเสริฐ. (2552). การพัฒนาระบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

(ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พงศธร ลิมปนเวทย์สกุล. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะหลักด้วยองค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะแรงงาน ในห่วงโซ่อุปทาน

ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พีรธร บุณยรัตพันธุ์ และอัครเดช ไชยเพิ่ม. (2555). โครงการ การจัดจ้างวางระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (รายงานฉบับสมบูรณ์ (แก้ไข)).

กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิน ชินะโชติ และคณะ. (2562). ความสำเร็จทางธุรกิจของอุตสาหกรรมรีไซเคิลในประเทศไทย (รายงานการวิจัย).

นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สังวาลย์ เขื่อนคำ. (2554). การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการสอนของโรงเรียนวารีเชียงใหม่.

(การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562.

กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2563). รายงานประจำปี 2563.

กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.

HR Note. (2019). Human Resource Development: HRD. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564,

จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190423-human-resource-development/