รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคประเทศไทย 4.0 ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

Main Article Content

ธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์
สมพร เฟื่องจันทร์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
ศิริพร แย้มนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะหลักเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในยุคประเทศไทย 4.0 และ 2) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคประเทศไทย 4.0 ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออก 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง เจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 100 คน กลุ่มที่สอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 2 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 4 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัย 2 แบบ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะหลักเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในยุคประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเครื่องมือทางดิจิทัลโดยนำไอทีไปใช้ในกลุ่มงาน (2) ทักษะการเป็นผู้นำ ในด้านการโน้มน้าวเจรจา และความสามารถในการสื่อสาร พร้อมกับการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ (3) ด้านคุณลักษณะของบุคคล โดยการทำงานเป็นทีม ด้วยมีทัศนคติในด้านแรงจูงใจใฝ่ รู้ในการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ (4) ด้านคุณลักษณะของบุคคล ความยึดมั่นในคุณธรรม และแรงจูงใจในการทำงาน (5) ด้านความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ (6) ด้านทักษะการวิเคราะห์และสรุปประเด็น (7) ด้านทักษะการแก้ปัญหา (8) ด้านคุณลักษณะของบุคคล ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จในการทำงาน (9) ด้านความรู้ความเข้าใจในสาขาอื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานและนำมาช่วยแก้ไขปัญหา และ (10) ด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร/หน่วยงาน/กลุ่มงาน กับ 2) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคประเทศไทย 4.0 ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นปัจจัยนำเข้า ในรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคประเทศไทย 4.0 ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี กับ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ.2560-2564) และ ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการ รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคประเทศไทย 4.0 ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด มีกระบวนการอยู่ 2 กระบวนการ คือ สมรรถนะหลักเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในยุคประเทศไทย 4.0 และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).

สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/industry_plan/

thailandindustrialdevelopmentstrategy4.0.pdf.

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์ และคณะ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน.

วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 16(2), 260-273.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2561). คู่มือการบริหารงานพนักงานราชการ 2561.

นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.).

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2560-2564.

กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.

Gilbert Paquette, Olga Marino and Rim Bejaoui. (2021). A new competency ontology for learning

environments personalization. Paquette et al. Smart Learn Environ, 8(16), 1-23.

Hair, J. F., et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspectives. Upper Saddle River,

New Jersey: Pearson Education, International.