การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะ ประเภทเครื่องดื่มและเบเกอรี่ ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ชลดา สุวรรณไชยรบ
พงศ์หิรัณย์ ปิยภิญโญภาพ
เมษ์ธาวิน พลโยธี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะ ประเภทเครื่องดื่มและเบเกอรี่ เสนอแนะและออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะ ประเภทเครื่องดื่มและเบเกอรี่ ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการร้านเครื่องดื่มและเบเกอรี่และนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะประเภทเครื่องดื่มและเบเกอรี่ จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามระดับความคิดเห็นของพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า ร้านที่มีจำนวนผู้เคยไปใช้บริการสูงที่สุดคือร้าน จัสฟอลโล่เดอะโกท โดยผู้ใช้บริการร้านเครื่องดื่มและเบเกอรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 21- 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนช่วง 10,001-15,000 บาท


            ตามวัตถุประสงค์ตามข้อที่ 1 ด้านวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการ จึงสามารถแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวได้เป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มนักเรียนนัก/ศึกษา และกลุ่มวัยทำงาน ผู้จัดทำจึงได้ทำการเสนอแนะและออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะ ประเภทเครื่องดื่มและเบเกอรี่ ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นวัตถุประสงค์ตามข้อที่ 2 ของทั้งสองกลุ่มข้างต้น เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของสองกลุ่มได้อย่างตรงจุด เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวและยังเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จให้กับร้านค้าอีกด้วย โดยความแตกต่างทั้งสองเส้นทางนี้ คือ กลุ่มนักเรียนนัก/ศึกษา จะมีจุดเด่นของแต่ละร้านคือมีจุดเช็คอินสำหรับนักท่องเที่ยวสายคาเฟ่ ที่มักจะเดินทางไปคาเฟ่ที่หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ในเส้นทางการท่องเที่ยวของกลุ่มนักศึกษาจะมีจำนวนร้านที่มากกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากพฤติกรรมของกลุ่มนี้มีความต้องการที่จะเดินทางไปยังหลายร้าน เพื่อที่จะเช็คอินให้ครบ และกลุ่มวัยทำงาน จุดเด่นคือความสะดวกสบาย บรรยากาศของร้านไม่วุ่นวายเท่าใดนัก เหมาะสำหรับการเป็นสถานที่สำหรับพูดคุย ติดต่องาน หรือผ่อนคลาย ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงานได้เนื่องจาก นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีความต้องความสะดวกสบาย บรรยากาศร้านนี่ไม่มีวุ่นวายจนเกินไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ โรจน์เรืองรัตน์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟตามร้านกาแฟพรีเมี่ยมบนถนนสีลมของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). การเติบโตของอุตสาหกรรมกาแฟธุรกิจขายส่งกาแฟ. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2560/T26/T26_201703.pdf

คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2563). CAFE HOPPING กับการท่องเที่ยว. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2564, จาก https://tourism.utcc.ac.th/cafe-hopping

พรรณราย แสวงผล. (2554). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์กับบ้านไร่กาแฟของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการตลาดคณะบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มณีรัตน์ นิ่มนวล. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อกาแฟทรีอินวันของผู้บริโภควัยทำงานที่ทำงานย่านถนนสีลม. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด : การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

สุชญา อาภาภัทร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. NY: John Wiley & Sons. Inc

marketeeronline, (2561). การเติบโตของธุรกิจกาแฟยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/210206

Wongnai, (2563). สถิติร้านอาหารและเครื่องดื่มปี 2019. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.brandage.com/article/16993/Food-2019