ความต้องการหลักสูตรระยะสั้นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุในสถาบันการอุดมศึกษาไทย

Main Article Content

ลภัสรดา ธนพันธ์
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการและรูปแบบวิธีการสอนที่เหมาะสมในหลักสูตรระยะสั้นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุในสถาบันการอุดมศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพหรือดูแลผู้สูงอายุจำนวน 1,604 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจาก 6 ภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการหลักสูตรระยะสั้นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ ใน 5 อันดับสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ วิชาการดูแลสุขภาพองค์รวมของผู้สูงอายุ ร้อยละ 51.81 วิชาโภชนาการที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.25 วิชาการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 44.56 วิชาโรคที่พึงระวังในผู้สูงอายุ ร้อยละ 40.05 และวิชากายภาพบำบัดและการให้คำปรึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 32.79) 2) ผลการวิเคราะห์วิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมในหลักสูตรระยะสั้นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุตามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำแนก 5 กลุ่ม พบว่า กลุ่มผู้สนใจทั่วไป (20-49 ปี) และกลุ่มเตรียมความพร้อม (50-59 ปี) เห็นว่า รูปแบบวิธีการสอนที่เหมาะสม ได้แก่ การเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนจากการฝึกปฏิบัติ และการเรียนการสอนผ่านโซเชียลมีเดีย ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุขั้นต้น (60-69 ปี) กลุ่มผู้สูงอายุขั้นกลาง (70-79 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุขั้นปลาย (80 ปีขึ้นไป) เห็นว่าควรเป็น การเรียนการสอนจากการฝึกปฏิบัติ การเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนแบบเดิมในห้องเรียน นอกจากนี้กลุ่มผู้สนใจทั่วไป (20-49 ปี) กลุ่มเตรียมความพร้อม (50-59 ปี) และ กลุ่มผู้สูงอายุขั้นต้น (60-69 ปี) เห็นว่า สื่อการสอนที่เหมาะสม ได้แก่ สื่อสังคมคมออนไลน์ และมัลติมีเดีย กลุ่มผู้สูงอายุขั้นกลาง (70-79 ปี) เห็นว่า ควรจะเป็นสื่อสังคมออนไลน์และโทรทัศน์ และกลุ่มผู้สูงอายุขั้นปลาย (80 ปีขึ้นไป) เห็นว่า สื่อการสอนที่เหมาะสม คือ โทรทัศน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิษณุโลกฮอตนิวส์. (2563). โรงเรียนผู้สูงอายุ ติดอาวุธทางปัญญาให้สูงวัย พร้อมรับมือวิกฤติ. สืบค้น 4 กันยายน 2564, จาก https://www.phitsanulokhotnews.com/2020/07/21/144941.

เวหา เกษมสุข. (2562). แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุปาณี จันทรมาศ และนวพร วิริยานุพงศ์. (2556.). ระบบบำเหน็จบานาญของไทย. วารสารการเงินการคลัง, 25(74), (มกราคม-มีนาคม 2556), 68-78.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบเพื่อพัฒนานโยบาย เรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). คัมภีร์ กศน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักข่าว Hfocus. (2561). เจาะลึกระบบสุขภาพ. สืบค้น 5 กันยายน 2564, จาก https://www.hfocus.org/.

สยามรัฐออนไลน์. (2561). โรงเรียนผู้สูงอายุศาสตร์เพื่อชีวิตที่เป็นสุข, สืบค้น 4 กันยายน 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/39731.

PopulationPyramid.net (2021). Population Pyramids of the World from 1950 to 2100. Retrieved September 4, 2021, from https://www.populationpyramid.net/world/2021/.

UNDP. (2019). Human Development Report 2019: Beyond income, beyond averages, beyond today: Inequalities in human development in the 21st Century.