แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ผกากาญจน์ ปฐมาญาดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ใช้วิธีการวิจัยเชิงสังเคราะห์เอกสาร แก้ไข เป็น ใช้วิธีการ “สังเคราะห์อภิมาน” ด้วยการสังเคราะห์เอกสารจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 6 แนวทาง คือ
1) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ จะต้องปรับตัวและเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเองคนไทยต้องมีทักษะด้านภาษาและการสื่อสารสำหรับเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน 2) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในวัฒนธรรมของการเรียนรู้ชุดใหม่ สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสวัฒนธรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเรียนรู้สถานการณ์จากมุมมองใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม 3) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ มุ่งเน้นการสร้างครอบครัวที่เหมาะสม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบใหม่ สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความ สามารถเข้ามาทำงานในองค์กร 5) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพการทํางานสูง พัฒนาองค์การในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์การเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพ สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเวลา และคุณภาพของผลงานดีเยี่ยม 6) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในบทบาทการนำองค์การแห่งการเรียนรู้ของนักทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ เน้นหลักที่สําคัญเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้ในองค์การ และองค์การสู่ความเป็นองค์การอัจฉริยะที่จะสามารถดํารงอยู่ในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลเชษฐ์ มงคล. (2563). การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ภายใต้วิกฤติ : สมรรถนะสำคัญของกำลังคนในโลกแห่งความผันผวนยุค VUCA. วารสารข้าราชการ, 62(2), 12.

ชัชราวรรณ มีทรัพย์ทอง. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 183.

ดวงพร แสงทอง. (2562). เอกสารประกอบการสอน วิชาองค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 : มิติด้านการศึกษา. วารสารวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 389.

ภัทร พจน์พานิช. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

รณรงค์ ศุภรัศมี. (2563). สมรรถนะหลักสำหรับนักบริหารระดับสูงภาครัฐของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารข้าราชการ, 62(2), 4.

รัตติกาล โสวะภาส. (2563). การพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพการทำงานสูงในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วสันต์ ทัพวงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและความรู้ ที่ยั่งยืนสู่ความมั่นคงของประเทศ กรณีศึกษา มณฑลทหารบกที่ 16. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ศาลปกครอง. (2562). แผนแม่บทศาลปกครอง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: ศาลปกครอง.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2561). ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานศาลปกครอง. (2562). แผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศาลปกครอง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). ดิจิทัลไทยแลนด์. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564, จาก https://onde.go.th/view/1.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

สุวิทย์ เมษินทรีย. (2559). ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Bohlander, G., Snell, S. and Sherman, A. (2001). Managing human resources. 12th Ed. OH: South-Western College Publishing.

Glass, G. V. (1981). Meta-Analysis in Social Research. California: Sage Publication.

Light, R. J. (1984). Summing Up : The Science of Reviewing Research. Massachusetts: Harvard University Press.

McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand Company Inc.

Rosenthal, D. B. (1978). Two Approach to Science-Technology-Society (STS). Science Education, 4(3), 581.

Sherman, Arthur. (2001). Managing human resources. Cincinnati, OH: South-Western College Publishing.

Smith, R. H. (1980). Management : Making Organizations Perform. New York: Macmillan.