การศึกษาเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม ต่อการจัดจำหน่ายและการซื้อด้วยอิทธิพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม ที่มีผลต่อการจัดจำหน่ายและการซื้อด้วยอิทธิพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์ โดยผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจากจากกลุ่มผู้ซื้อสินค้า OTOP จังหวัดนครปฐม โดยมีจำนวนผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดนครปฐม รวมทั้งสิ้น 633 แห่ง จากการพิจารณาจำนวนของผู้ประกอบการข้างต้นด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ G*Power พบว่ามีค่าเท่ากับในการแจกแบบสอบถามจำนวน 180 ราย เมื่อดำเนินการเก็บตัวอย่างครบถ้วนแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยอธิบาย และนำเสนอค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ด้านกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม ต่อการจัดจำหน่ายและการซื้อด้วยอิทธิพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน จากการคำนวนการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม และการจัดจำหน่ายและการซื้อด้วยอิทธิพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์นอกจากนั้นยังใช้การพิจารณา ANOVA t-test F-test เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างด้านประชากรศาสตร์ และการจัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์มาสนับสนุนผลการศึกษาทางสถิติผลการวิจัยพบว่า ด้านข้อมูลกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.3063 โดยสามารถแปลผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่าโฆษณาของท่านมีเนื้อหาของสินค้าชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5944 อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดได้แก่ สินค้าของท่านมีการโฆษณาอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0556 อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดนครปฐม นั้นให้ความสำคัญกับความชัดเจนของเนื้อหามากที่สุด และให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอของการโฆษณาน้อยที่สุด ผู้ประกอบการด้านกิจการโฆษณา หรือสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องจึงควรพิจารณาช่องทางให้สอดคล้องโดยเน้นไปยังความชัดเจนของเนื้อหาโฆษณาของผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดนครปฐมเป็นประเด็นหลัก ด้านปัจจัยทางการสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐม ที่มีผลต่อการจัดจำหน่ายและการซื้อด้วยอิทธิพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์ พบว่าข้อมูลพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมด้วยอิทธพลของข้อมูลในแผนที่ออนไลน์ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.256467 โดยสามารถแปลผลได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อคำถาม พบว่าแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมใช้งานง่ายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62220 อยู่ในระดับมาก ข้อมูลแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมทำให้เดินทางได้สะดวกขึ้น รองลงมาข้อมูลแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมทำให้เกิดการซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52780 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32220 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาข้อมูลแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมทำให้เกิดการซื้อสินค้ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18890 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาข้อมูลแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมทำให้ทราบถึงแหล่งจัดจำหน่าย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.98330 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาข้อมูลแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมทำให้เดินทางไปถึงแหล่งจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.89440 อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าแผนที่ออนไลน์ของผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดนครปฐมีส่วนทำให้ทราบถึงข้อมูลและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ และสถานที่จัดจำหน่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กฤษณี เยาวสกุลมาศ. (2555). การสํารวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้แอปพิเคชั่น WhatsApp ของผู้ใช้ในเขต
กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา มีศิลปวิกกัย. (2553). ความรู้เบื้องต้นและทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จุรีย์ พานทอง. (2559). ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ช่องทางในการรับรู้ข่าวสารและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ำโอทอปของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.
ชนินาถ สงวนวงศ์วิจิตร. (2552). วิธีดำเนินงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชมพูนุท นุตาคม. (2542). หลักการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ชานนท์ รุ่งเรือง. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าและการลดต้นทุนโดยใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ทางอิเลกทรอนิกส์ ในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต)
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2548). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: Brand Age books.
ธีราวรรณ์ จันทรมานนท์. (2555). ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจําหน่ายที่มีผลต่อลูกค้าในการซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์และการเลือก
จําหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร. (2555). การบริหารช่องทางการจัดจําหน่ายสินค้าระหว่างประเทศ.
กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระนันท์ คำนึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และการตลาดออนไลน์สำหรับ
สินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.
(2). 32- 45.
เสรี วงษ์มณทา. (2540). ครบเรื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2563). ฐานข้อมูลหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
DeVellis, R. F. (2012). Scale development: Theory and applications. CA: Sage publications.
McCarthy, E. J. & Perreault, W. D. (1993). Basic Marketing: A Global-Managerial Approach (11st ed).
Homewood, Ill: Richard D. Irwin.
Shimp, Terence A. (1990). Promotion Management and Marketing Communications. (2nd ed.).
Chicago: Dryden Press.
Stanton, William J., Etzel Mchael J. and Walker, Bruce J. (1991). Fundamentals of Marketing. (9th ed.).
New York: MaGraw-Hill.