อนาคตแรงงานไทยภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง

Main Article Content

ทิวา ดอนลาว
สมพร เฟื่องจันทร์
เพ็ญศรี ฉิรินัง ฉิรินัง
วิวัฒน์ กรมดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะแรงงานไทย เพื่อให้แรงงานไทยสามารถเผชิญกับกระแสเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกแบบใหม่ตามกระแสอุตสาหกรรม 4.0  ที่เป็นการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่และวิธีการทำธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่   แรงงานจะเป็นกลไกลที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงบนโลกเศรษฐกิจสมัยใหม่นี้ ด้วยเหตุที่ว่าแรงงานจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่นั้นๆ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่มีนโยบายที่จะผลักดันประเทศให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดังกล่าว จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 ขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่ต้องแข่งขันกันด้วยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบคอมพิวเตอร์ของทุกสรรพสิ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ระบบการควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการที่จะเข้ามาทำงานแทนแรงงานไทย รวมถึงผลกระทบของวิกฤติเชื้อไวรัส โควิด19 ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจและระดับการจ้างงานทั่วโลกและประเทศไทย รวมทั้งภาวะปัญหาทางเศรษฐกิจอื่นๆที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่ออนาคตของแรงงานไทยโดยเฉพาะการจ้างงาน ด้วยเหตุนี้แรงงานไทยจะต้องมีสมรรถนะและการพัฒนาสมรรถนะขั้นพื้นฐาน ซึ่งหมายถึง ความรู้หรือ ทักษะพื้นฐานที่บุคคลจําเป็นต้องมีในการทํางาน และสมรรถนะที่ทําให้บุคคลแตกต่างจาก เพื่อที่จะทำให้แรงงานไทยมีทักษะ ความรู้ คุณลักษณะ แรงจูงใจและทัศนคติในการทำงาน มีทักษะและฝีมือที่สามารถปรับตัวเองและพัฒนาตนเองให้รองรับกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมๆกับการสนับสนุนจากภาครัฐภาคเอกชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิริยา กุลกลการ. (2561) . การบริหารทุนมนุษย์ในเศรษฐกิจยุค 4.0. สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานไทย กระทรวงแรงงาน .
กรมการจัดหางาน.( 2560 ). ยุทธศาสตร์การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน (พ.ศ.2560-2564): กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน. (2562).วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงาน ไตรมาสที่ 4 ปี 2562. : กองบริหารข้อมูลแรงงาน กระทรวงแรงงาน , 26 มกราคม 2561. กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน. ( 2561 ) .การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล, เอกสารสัมนา : กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ( 2561 ). ช่องว่างทักษะกับนัยยะที่มีต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศไทย, เอกสารการวิจัยทางวิชาการ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรประภา อัครบวร. (2553).Competency คืออะไรกันแน่. เอกสารประกอบคําสอนโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: คณะพัฒนทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัทรา ชวนชม (2562) ความเสี่ยงแรงงานยุค 4.0 หากไม่ปรับตัว-พัฒนาทักษะ. สืบค้นได้จากhttps://news.thaipbs.or.th/content/284984?fbclid=IwAR2FufkoO17Q_7GUIw3JhnB7_ Z9zDPQMqMgFN6u2_y5nEoYa-9lWYQObP0k, 26 มีนาคม 2563 ธนิต โสรัตน์.(2560). ไทยแลนด์ 4.0 การจ้างงานและการปรับตัวก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง, เอกสารประกอบการเสวนา:สภาองค์การนายจ้างแห่งผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.
ธนิต โสรัตน์. (2562). ความเสี่ยงแรงงานยุค 4.0 หากไม่ปรับตัว-พัฒนาทักษะ, เข้าถึงได้จาก:https://news.thaipbs.or.th/content/284984?fbclid=IwAR2FufkoO17Q_7GUIw3JhnB7_
Z9zDPQMqMgFN6u2_y5nEoYa-9lWYQObP0k, 9 มีนาคม 2563.
ธนิต โสรัตน์. (2563). วิถีใหม่ต้องปรับตัว! นายจ้างส่งสัญญาณปริญญาตรีล้าสมัยเสี่ยงตกงานเพิ่ม. ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://mgronline .com/bus iness/detail /9630000054551. 12 พฤษภาคม 2563. สุกัญญา ศุภกิจอำานวย. (2559). ไทยแลนด์ 4.0 ผลกระทบ'แรงงาน. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokbiznews.c
om/blog/detail/ 638279, 26 มกราคม 2561.
สมชาย ภคภาสนวิวัฒน์. (2563).หลังวิกฤตโควิด-19 หลายธุรกิจจะเปลี่ยนไป.ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/specialscoop/detail/96300000, 16 พ.ค. 2563.
เสาวนีย์ จันทะพงษ์และกำพลพรพัฒนไพศาลกุล. ( 2562). การยกระดับทักษะแรงงานไทย: โจทย์ใหญ่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. บทความวิจัย: ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.)
เสาวนีย์ จันทะพงษ์ และทศพล ต้องหุ้ย. ( 2563) . ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก. บทความวิจัย: ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจออนไลน์.( 2562 ).ปิดความเสี่ยงตลาดแรงงานไทย2563. เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/content/columnist/412488, 12 กุมภาพันธ์ 2563.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์.( 2552) . Competency Development Roadmap. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์
Adi Gaskel. (2019).What Are The Top 10 Soft Skills For The Future Of Work?, Retrieved from: https://www.forbes.com/sites/adigaskell/2019/02/22/what-are-the-top-10-soft-skills-for-the-future-of-work/#4f415f927f1f, 7 May 2020.
Anna E., Kuanruthai S., and Natthanicha L., and Nilim B. ( 2020) . COVID-19: Impact on migrant workers and country, Briefing Note: Office for Thailand, Cambodia and Lao PDR1. International Labor Organization ( ILO). Alex Gray.(2016). The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution, Retrieved from https://www.weforum.org /agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/,2 February 2020.
Ara Barsam. (2019). Tomorrow’s Workforce Starts with Investing in Education Today, Retrieved from: https://www.kenan-asia.org/education-investment-thailand-4-0/,23 May 2020.
Chang J., Huynh P. (2016). ASEAN in transformation : The future of jobs at risk of automation, Retrieved from: https://www.ilo.org/actemp/publications/WCMS_579554/lang--en/index.htm,19 April 2020. Dora Heng. (2019). Preparing for Thailand 4.0: Revamping vocational training for the future of work ,Retrieved from: https://www.aseantoday.com/2019/12/preparing-for-thailand-4-0-revamping-vocation-training-for-the-future-of-work/, 23 March 2020.
Kandukuru Nagarjun. (2020 ). COVID-19: Stimulating the economy and employment, Retrieved from: https://www.ilo.org/global/ab out-the-ilo/newsroom/news/WCMS_ 743036/lang--en/index.htm, 4 May 2020.
PATRICK COOKE. (2018). Is the Thai workforce ready for Thailand 4.0?, Retrieved from: https://www.bangkokpost.com/business/1467662/is-the-thaiworkforce-ready-for-thailand-4-0-, 18 March 2020.
Spencer, L. M. & Spencer, S. M. (1993). Competency at work : Model for superior performance. New York: Wiley.
Will Baxter. (2017). Thailand 4.0 and the Future of Work in the Kingdom – ILO, Meeting Document , International Labor Organization ( ILO ) , Retrieved from: www.ilo.org › meeting document › wcms_549062, 21 March 2020.