ผลกระทบของมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อมูลค่าเพิ่ม ทางการตลาดของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี SET100
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ อัตราส่วนทางการเงิน และมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนีเซ็ต100 โดยอัตราส่วนทางการเงินที่นำมาใช้ ได้แก่ อัตราส่วนทางการเงินด้านความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย (1) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (2) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และ (3) กำไรสุทธิต่อหุ้น กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนีเซ็ต100 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินรายปีเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ.2561 ทั้งนี้ไม่รวมบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงิน
การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายสรุปลักษณะเบื้องต้นของตัวแปร ใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพื่ออธิบายทิศทางความสัมพันธ์และความสัมพันธ์เชิงซ้อนระหว่างตัวแปร และใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ และอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อมูลค่าเพิ่มทางการตลาด ตัวแปรอิสระ ได้แก่ อัตราส่วนทางการเงินด้านความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ตัวแปรตาม คือ มูลค่าเพิ่มทางการตลาด ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของกิจการและความเสี่ยงทางการเงิน ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลกระทบและความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าเพิ่มทางการตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
โกศล ดีศีลธรรม. (2552). การบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์. Technology Promotion Magazine, 36(205), 16-20.
ณิชานันท์ แอดสกุล. (2558). ตัววัดผลการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและมูลค่าทางการตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). รายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET50 Index และ SET100 Index. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/th/market/files/constituents/SET50_100_H2_2018.pdf
วีระชาติ ชุตินันท์วโรดม. (2556). เทคนิคการประเมินมูลค่าหุ้น. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1429790208378.pdf
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
Alsoboa, S. S. (2017). The influence of economic value added and return on assets on created shareholders value: A comparative study in Jordanian public industrial firms. International Journal of Economics and Finance, 9(4), 63-78.
Bognárová, K. J. (2018). The Effect of Leverage and Economic value added on Market value added. Challenges of the Knowledge Society, 812-816.
Brigham, E. F., & Houston, J. F. (2019). Fundamentals of financial management. Cengage Learning.
Grant, J. L. (2003). Foundations of economic value added. Vol. 99. NJ: John Wiley & Sons.
Kadar, K., & Rikumahu, B. (2017). Relationship Analysis Between EVA, EPS, ROA, ROE to MVA for Measuring Financial Performance (Case Study on Telecommunication Companies Listed in IDX 2011-2016). eProceedings of Management, 4(3).
Prasad, H., & Shrimal, K. (2015). An Empirical Study on Relationship between Selected Financial Measures and Market Value Added of Infrastructural Companies in India. Pacific Business Review International, 8(1), 19-23.
Quintiliani, A. (2018). The Relationship between the Market Value Added of SMEs Listed on AIM Italia and Internal Measures of Value Creation The Role of Corporate Strategic Planning. International Journal of Financial Research, 9(1).
Riahi-Belkaoui, A. (1999). Capital structure: determination, evaluation, and accounting. CT: Quorum Books Publisher.
Stewart, G.B. (1991). The Quest for Value. New York: Harper Business.
Stewart, B. (2013). Best-practice EVA: the definitive guide to measuring and maximizing shareholder value. NJ: John Wiley & Sons.
Yan, Q., & Wang, Y. (2016, December). REVA-based Value Analysis on Listed Companies of Power Industry. In 2016 International Conference on Modeling, Simulation and Optimization Technologies and Applications (MSOTA2016). Atlantis Press.
Young, S. D., & O'Byrne, S. F. (2001). EVA and value based management. New York: McGraw Hill.