กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

Main Article Content

กรกมลวรรณ คงมิตร
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพของกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 และ 2) เปรียบเทียบกลยุทธ์การบบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สำนักงานขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน
กลุ่มตัวอย่าง 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.

เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

ไกรสิทธิ์ สิงห์แสน. (2548). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นราภรณ์ สาลักษณ์. (2551). เรื่องปัญหาการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

สถาบันราชภัฏราชนครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประวิทย์ ศรีพินิจ. (2550). เรื่องสภาพการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี. บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ปราณี หลำเบ็ญสะ (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. โครงการบริการวิชาการ,

คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พิทักษ์ ดวงตะวงษ์. (2551). เรื่องสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม.

วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. [ม.ป.ท.]. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane

(Determining the sample size by the Yamane’s formula.). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2563,

จาก: http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar /01_9_Yamane.pdf

มงคล สุวรรณกล่อม. (2552). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี

เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฏราชนครินทร์.

อภิวรรณ วีระสมิทธิ์. (2544). หนังสือกับการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.