บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรก สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

เอกราช ล้อแก้ว
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตาม อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติค่าเอฟ (F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทัศนะของผู้ปกครองนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนไชยราชช้างแรกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามอายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศึกราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชวลิต เจนเจริญ. (2553). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2558). สมศ.เผยผลการประเมิน 15 ปี พบ 3 ปัญหาฉุดการศึกษาไทย. สืบค้น 1 มีนาคม 2564, จาก http://www.thinsiam.com/archives/18648.

ชิดชญา ปรีสิทธิ์. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รสสุคนธ์ วาริทสกุล. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อการให้การสนับสนุนของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 42-50.

วิเชียร รู้ยืนยง. (2559). บทบาทผู้บริหารในการจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(1), 70-79.

สุรพงศ์ อึ้งโพธิ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 183-198.

สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศึกราช 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.