หลักการบริหารเพื่อตอบสนองสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

Main Article Content

ลลิตา สิริพัชรนันท์
เพ็ญศรี ฉิรินัง
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

หลักการบริหารเพื่อตอบสนองสังคมผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุเพื่อนำเสนอหลักการเพื่อให้สามารถตอบสนองและรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจในมิติด้านโครงสร้างทางประชากร ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านสวัสดิการ ด้านองค์ความรู้ และด้านสาธารณสุข การมีแรงงานสูงอายุที่มีศักยภาพจะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตของประเทศ แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อตอบสนองความสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) การจัดการด้านสวัสดิการให้ผู้สูงอายุทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 2) การพัฒนาด้านองค์ความรู้ของผู้สูงอายุ 3) การส่งเสริมด้านสาธารณสุข 4) การแบ่งประเภทผู้สูงอายุเป็นกลุ่มต่างๆ และ 5) การส่งเสริมวัฒนธรรมการอยู่รวมกันของผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่การทอดทิ้ง โดยหลักการบริหารเพื่อตอบสนองสังคมผู้สูงอายุในอนาคตมุ่งเน้นใน 3 ประการ ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมรองรับประชากรผู้สูงอายุ 2) การส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ และ 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  ในขณะที่หลักการบริหารในองค์การที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ควรดำเนินการได้แก่ 1) ผู้บริหารต้องเข้าใจพฤติกรรมองค์การและเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้สูงอายุ 2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ  3) การเปิดกว้างและเชื่อมโยงในการรับฟังผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง 4) การให้ความสำคัญเรื่องสิทธิผู้สูงอายุ ตั้งแต่การกำหนดไว้ในพันธกิจ ค่านิยม จรรยาบรรณ หลักการต่างๆ ตลอดจนนโยบายขององค์กร และ 5) การส่งเสริมให้องค์การที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ข้อมูลในวงกว้าง เพื่อให้เกิดการรับรู้ว่าขณะนี้สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อให้แต่ละภาคส่วนเตรียมความพร้อม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2547). คู่มือมิติใหม่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

ชุมพร ฉ่ำแสง, อุมาพร เคนศิลา, นัยนา ตั้งใจดี และกิตติพงษ์ คงสมบูรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2539). จิตวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: ออเรียนแทลสกอล่า.

ตระกูล มีชัย. (2558). การกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายศึกษา.

นิยม รัฐอมฤต. (2558). ดุลยภาพางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. (2554). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. สงขลา: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ธราธร ดวงแก้ว และหิรัญญา เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2557). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศภายใต้กรอบพันธกรณีองค์การสหประชาชาติ : แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing: MIPAA). กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

เสถียร เหลืองอร่าม. (2519). หลักมนุษยสัมพันธ์ต่อการบริหารงานในองค์การ. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

เสนาะ ติเยาว์. (2546). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสาวลักษณ์ แย้มตรี, ชุมพล พลนรา และอานนท์ แย้มตรี. (2542). รูปแบบการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.