กระบวนการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ จังหวัดอุบลราชธานี ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเลือก จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การตระหนักและการก่อตัวของเครือข่าย 2. การสร้างพันธกรณีร่วมกัน 3. การแต่งตั้งคณะกรรมการ 4. การสร้างความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และ 5. การติดตามและประเมินผล
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ดวงพร พุทธวงค์. (2561). ความสำเร็จของการพัฒนาระบบเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็กของผู้ประกอบธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่น. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(พิเศษ), 18-31.
นฤชา โฆษาศิวิไลซ์ เสาวภา สุขประเสริฐ และสุวารีย์ ศรีปูณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายพลังสังคมเชิงบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 105-118.
ยุพิน เถื่อนศรี. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์: กรณีศึกษา ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 116-132.
รมิตา คชนันท์. (2558). คลัสเตอร์การรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อการแข่งขัน. เอกสารวิชาการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร. สืบค้น 10 สิงหาคม 2560, จาก http://www.parliment.go.th/.
วิรงรอง แสงเดือน ภัทรา สวนโสกเชือก เกียรติศักดิ์ พระเนตร และกิตติศักดิ์ จำปาแก้ว. (2559). การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเพื่อความมั่นคงด้านอาชีพเกษตรกรอย่างมีส่วนร่วม บ้านโนนโพธิ์ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุพัฒน์ กาฬพันธ์. (2555). องค์ความรู้ในการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู.
Lewins, A. and Silver, C. (2007). Using Software for Qualitative data analysis: A Step-by-Step Guide. London: Sage.
Phambuka, C. A. (2008). Creating Competitive Advantage In Development Countries Through Business Clusters: A Literature Review. African Journal of Business Management, 2(7), 125-130.