ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านรายได้และสวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจในพื้นที่ จำนวน 750 นาย ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุ 36 - 45 ปี อยู่ในระดับชั้นยศร้อยตำรวจตรี - ร้อยตำรวจเอก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส มีรายได้ต่อเดือน 25,001 - 30,000 บาท และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ 11 - 15 ปี มากที่สุด ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.13) ด้านรายได้และสวัสดิการ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.16) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.12) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.10) ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านรายได้และสวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก (x ̅ = 4.13) ผลการวิจัยการเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส มีขวัญกำลังใจไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยด้าน อายุ ชั้นยศ รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า มีขวัญกำลังใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กฤตกร ชลวิสุทธ์. (2544). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูการบินโรงเรียนการบินกองทัพอากาศ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (2557). คู่มือตำรวจตระเวนชายแดน ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม.
จตุพร วงศ์ศรีเผือก (2549). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตราอำพราง). ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จรัสศรี ลิ้นทอง (2550). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอ็น, ที. พี. ซัพพลาย แอนด์เซอร์วิส จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชัยณรงค์ กาสี. (2551). ขวัญและกำลังใจของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 35 ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชำนาญ อินทร์ชัย. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตะวัน ศิลป์ประกอบ. (2551). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิพย์ประภา ทองศรี. (2550). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและถูกจ้าง เทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธวัชชัย ฟักเทพ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพอต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาค. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญยง จินตนะกุล. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาลและข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
บอย ทรงคระรักษ์. (2553). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สังกัดกรมทางหลวงส่วนกลาง. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประคอง กรรณสูตร. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2541). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮ้าออฟเคร์มีสท์.
พีริศร เปรื่องเวทย์. (2550). ขวัญและกำลังใจของข้าราชการชั้นประทวนและถูกจ้างที่มีผลต่อการปฏิบัติ หน้าที่: ศึกษากรณี โรงเรียนสื่อตารทหารเรือ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิสิฐ กิจขุนทด. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดภูธรจังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เมตตา คันธา. (2545). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรวัต อุบลรัตน์. (2551). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายวิทยาการสื่อสาร: ศึกษากรณี กรมสื่อสารทหารเรือ กองทัพเรือ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วชรกานต์ หุ่นเกลี้ยง. (2552). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการในจังหวัดปัตตานี ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วณัฐการญจน์ จิตต์ธรรม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกลุ่มงานบริหารบุคคล กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภาพร มาพบสุข. (มปป). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วิลาสินี สุวรรณภาพ. (2548). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, โครงการบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิศรุต ภิรมย์ราบ. (2548). การศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของนายทหารประทวนกองบัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วสันต์ พลั่วพันธ์. (2550). การศึกษาขวัญกำลังใจพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วิทยานิพนธ์ อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศุภางค์ วงษ์แจ้ง. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยเทคนิคนครนายก จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิลปชัย พรายมี. (2550). ขวัญและกำลังในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 กองบัญชาการตำรวจนครบาล. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธีรฟิมล์และไซเท็กซ์.
สุจิตรา พรมนุชาธิป.(2555). มนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.
อารยา เจริญกุล. (2543). ขวัญและกำลังใจในการทำงาน : Morale. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อภิสิทธิ์ หนุนภักดี. (2543). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่กำลังจะแปรรูป. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
David, L. Weakliem and Stephen, J. Frankel. (n.d.). Morale and Workplace Performance. Retrieved 2008, October 1, from http://wox.sagepub.com/cgi/content/abstract/33/3/335.