ความต้องการกำลังคนระดับปริญญาเอกของประเทศไทย

Main Article Content

วิทยา เจียรพันธุ์
สมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
อภิชัย พันธเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการกำลังคนระดับปริญญาเอกในอนาคตของประเทศไทย และเพื่อศึกษาศักยภาพของสถาบันการอุดมศึกษาในการผลิตดุษฎีบัณฑิตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะต่อการผลิตกำลังคนระดับปริญญาเอกที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศต่อไป การวิจัยใช้เทคนิควิธีพยากรณ์ความต้องการกำลังคน (manpower requirement approach) ที่สอดคล้องกับความต้องการดุษฎีบัณฑิตของประเทศครอบคลุม 10 สาขา จำแนกตาม ISCED 2013


ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ข้อจำกัดของบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ในระดับปริญญาเอก ประเด็นคุณภาพของหลักสูตรระดับปริญญาเอกของสถาบันการอุดมศึกษาไทยมีความเกี่ยวข้องกับเชิงปริมาณอย่างใกล้ชิด โดยที่การผลิตดุษฎีบัณฑิตของไทยยังมีปัญหาเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะในหลักสูตรทีมิ่ใช่วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาหลายแห่งมีแนวโน้มดำเนินการในหลักสูตรที่มีอุปสงค์จากสังคมค่อนข้างสูง เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ดังนั้น แนวทางแก้ไขที่สำคัญคือ การยกระดับคุณภาพของหลักสูตรให้สูงขึ้น มุ่งเน้นการสร้างทีมนักวิจัยที่เข้มแข็ง เพื่อเป็นการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพและพัฒนาบุคลากรของตนเองไปด้วยพร้อมกัน ขณะเดียวกัน สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาเอกที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่สถาบันการอุดมศึกษายังไม่มีความพร้อมมากพอ จะต้องได้รับความช่วยเหลือตามความจำเป็น ส่วนหลักสูตรที่มุ่งแสวงประโยชน์ทางธุรกิจจะต้องถูกสั่งปิดทันที สำหรับมาตรการเชิงระบบของคุณภาพการศึกษา ควรจะดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดกับคุณภาพของการผลิต คือคุณภาพของดุษฎีนิพนธ์เป็นสำคัญ มากกว่าเข้มงวดกับปัจจัยนำเข้าโดยไม่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นก็จะต้องคำนึงถึงมาตรฐานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของอาจารย์และนักศึกษาในระดับหนึ่งในฐานะที่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็น ขณะที่คุณภาพของดุษฎีบัณฑิตคือเงื่อนไขที่พอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย