แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับองค์ประกอบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ
เกาะสมุย และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุยการวิจัยนี้เป็นการวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 478 คน ได้แก่ ประชาชนผู้ที่มีทะเบียนบ้านในเทศบาลนครเกาะสมุย จำนวน 398 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 16 คน ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย (1) ด้านระดับองค์ประกอบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาจิตสำนึกทางการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาในแหล่งท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว และด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชน และ (2) ด้านแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุย ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง การพัฒนาทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ควรปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว จัดทำคู่มือและออกกฎข้อบังคับให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตาม แนวทางที่สอง การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว ควรรักษาความสะอาดและจัดการขยะอย่างเป็นระบบ แนวทางที่สาม การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ควรรณรงค์ให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้เสื่อมโทรมลงไป แนวทางที่สี่ การพัฒนาการตลาด สินค้าและบริการควรมีหลากหลายสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยว แนวทางที่ห้า การพัฒนาการมีส่วนร่วม ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมการตัดสิน และร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และแนวทางสุดท้าย การพัฒนาจิตสำนึก ควรจัดทำสื่อ เช่น คู่มือ แผ่นพับ เพื่อสร้างจิตสำนึกทางการท่องเที่ยว
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น