รูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0

Main Article Content

สุรีวัลย์ เงินพุูลทรัพย์
รัชยา ภักดีจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 (2) เพื่อประเมินสมรรถนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเอกสารด้วยวิธีการสังเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรมหาวิทยาลัย การวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 287 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อสร้างรูปแบบจำลองการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน และการยืนยันรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 12 ด้าน 2) การประเมินสมรรถนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 โดยรวมในสมรรถนะ 12 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในยุคประเทศไทย 4.0 โดยการยืนยันรูปแบบการพัฒนาบุคลากร ใน 4 ประเด็น คือ (1) ในระดับความสำคัญ (2) ในระดับความเหมาะสม (3) ในระดับความเป็นไปได้ และ (4) ในระดับการนำไปใช้ประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีระดับความสำคัญและการนำไปใช้ประโยขน์อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การพัฒนาสมรรถนะให้ครอบคลุม ทั้ง 12 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคล. (2562). ข้อมูลบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. เอกสารออนไลน์
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563, จาก https://hr.rmutr.ac.th/.
กรกต ขาวสะอาด. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
กระทรวงเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ :
กระทรวงเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 (พฤษภาคม พ.ศ. 2559.)
กระทรวงพาณิชย์. (2559). ไทยแลนด์ 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวง
พาณิชย์
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย. ขอนแกน : คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร
มหาวิทยาลัยขอนแกน.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.
ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พยอม วงศสารสี. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พระเอกราช กิตฺติธโร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอกันทรลักษ์
จังหวัดศรีสะเกษ, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม : พิมพ์ที่ร้านพีพีก๊อบปี้, พิมพ์ครั้งที่ 2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2556). คู่มือสมรรถนะ Competency Manual. นครปฐม :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3, มิถุนายน 2563.
มีศักดิ์ แสงศิลา, ยุทธสิทธิ จันทร์คูเมือง, รพิพรรณ แก้วโภคา, วรรณี แก้วคําศรี, เดือนฉาย ผ่องใส, จุฑามาส
ทรายแก้ว และ ณัฐฐา มาตรนอก. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้ C
เทคนิค 7Cs. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ; ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2563.
รุจี จารุภาชน์. (2548). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลสมรรถนะของบุคลการเพื่อการพัฒนา กรณีศึกษา
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. (สังคมวิทยาการพัฒนา).
ขอนแก่น : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรขอนแก่น.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ไขรหัสประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง.
กรุงเทพฯ : ไทยรัฐฉบับพิมพ์, ฉบับวันที่ 2 พฤษภาคม 2559, เอกสารออนไลน์ เมื่อวันที่ 1 กุภาพันธ์
2563, จาก http://www.thairath.co.th/content/613903.
สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรี. (2560). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 228/2560. เอกสารออนไลน์ เมื่อวันที่ 3
กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.moe.go.th/websm/2017/may/228.html.)
สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560-2580). เอกสาร
ออนไลน์ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก
http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf
อำนวย แสงสว่าง. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
Nadler, L. (1980). Corporate Human Resource Development : A Management Tool. Housto : Gulf
https://sites.google.com/site/group1class52557/4-raeng-cungci/thvsdi-raeng-
cungci?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1,
Ulrich, D. (1997). Measuring Human Resource : An overview of practice and prescription for
results. Human Resource Management, 36 (9), 303-310
Wenden, A. (1991). Learner Strategies for Learner Autonomy. London : Prentice-Hall.
Wertheimer, M. (1959). Productive thinking. New York : Harper & Row.
Wool, S. and Sullivan, D. (1996). The United States magazine and Democratic review. New
York : Kettell & Moore.
World Press. (2015). ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ. เอกสาร
ออนไลน์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.Dileiliman astersnelari.com