การวิเคราะห์รูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การ
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบภาวะผู้นำมีความสำคัญต่ออัตราการคงอยู่ของพนักงานในองค์การเพราะว่า ภาวะผู้นำสามารถสนับสนุนการทำงานของพนักงานภายในองค์การให้มีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกผูกพัน มุ่งมั่น และทุ่มเทในการทำงาน การศึกษาวิจัยนี้จึงต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอภิมาน (Meta-Analysis) และเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Analysis) เกี่ยวกับรูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การเพื่อป้องกันภาวะความรู้สึกอยากออกจากงาน (Turnover) ความเหนื่อยหน่ายในงาน (Burnout) อันจะส่งผลเสียต่อองค์การ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลวารสารที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น Science Direct ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2020 โดยกำหนดการค้นหาคำสำคัญ (Keywords) เช่น “leadership styles influencing employee retention” และวิเคราะห์จัดกลุ่มรูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การ ผลการวิจัยพบว่า ผลงานที่สอดคล้องกับถ้อยคำดังกล่าวมีจำนวน 124 เรื่อง ทีมผู้วิจัยได้คัดเลือกบทความวิจัยที่สัมพันธ์กับตัวแปรที่ศึกษาตามเกณฑ์ได้จำนวน 13 เรื่อง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 11 เรื่อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 2 เรื่อง แล้วนำมาสังเคราะห์จัดกลุ่มกรอบแนวคิดรูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานในองค์การ พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การมี 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) รูปแบบภาวะผู้นำมุ่งความสัมพันธ์ 2) รูปแบบภาวะผู้นำมุ่งงาน 3) รูปแบบภาวะผู้นำมุ่งการเปลี่ยนแปลง โดยทั้ง 3 รูปแบบมีอิทธิพลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบภาวะผู้นำมุ่งงานจะมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่ในองค์การ ส่วนรูปแบบภาวะผู้นำมุ่งการเปลี่ยนแปลงจะช่วยยกระดับองค์การสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น