ความรับผิดชอบต่อสังคมในอุตสาหกรรมยานยนต์ กรณีศึกษา บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรื่องฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน หรือมลพิษทางอากาศคงเป็นปัญหาเรื้อรัง และยากที่จะแก้ไขให้หมดไปจากประเทศไทย ตราบใดที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมาตรฐานใดๆ มาแก้ให้ตรงจุดตรงประเด็น ทั้งๆ ที่รู้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีผลทางตรงและทางอ้อม จากการศึกษาพบว่า บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการผลิตรถยนต์มากที่สุดในประเทศไทย ทีมีการตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการมาศึกษาและรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2506 เป็นต้นมา นอกจากนั้นยังมีการรายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 โดยมีเนื้อหาหลักที่เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันองค์กรให้นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 หัวข้อ คือ ความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบทางสังคม และความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ ด้วยการนำเสนอข้อมูลอย่างโปร่งใสตามหลักมาตรฐานสากล อีกทั้งยังรายงาน GRI Index Reference (Global Report Initiative) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะ 3 มิติ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ผลผลิต และการบริการ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล โดยที่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ กลับคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีพันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้าปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 ที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็น “ศูนย์” และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับหลักความรับผิดชอบต่อสังคม ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 8 ข้อดังนี้ 1. การกำกับดูแลกิจการทีดี 2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 3. การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม 6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 7. การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม ในการการดำเนินธุรกิจสามารถนำแนวความคิดความรับผิดชอบต่อสังคม 8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น