การวิเคราะห์การจัดการกำไร กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน

Main Article Content

อริสรา ธานีรณานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเป้าหมาย 1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่มีผลต่อการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน  2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทที่เพิกถอนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2518 – 2563 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินที่เปิดเผยไว้ในระบบให้บริการข้อมูลหลักทรัพย์แบบออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Market Analysis and Reporting Tool : SETSMART) จำนวน 261 บริษัท เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง วันที่ 20 เมษายน 2563 จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 37 บริษัท ดำเนินวิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์และคำนวณตามแบบจำลองของ The Beneish M-Score Model มีองค์ประกอบ 8 ดัชนี พิจารณาถึงโอกาสในการจัดการกำไรหรือการตกแต่งกำไรเป็นรายดัชนีและสถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกเพิกถอนตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีสาเหตุเพิกถอนจากบริษัทขอเพิกถอนโดยสมัครใจ บริษัทถูกควบรวม ตลาดหลักทรัพย์สั่งเพิกถอนเนื่องจากฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จ จากการไม่ส่งงบการเงิน จากการฝ่าฝืนข้อกำหนดและสาเหตุอื่น มีความเป็นไปได้ที่จะมีการจัดการกำไรจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดธุรกิจก่อสร้าง สาเหตุเพิกถอนหลักทรัพย์เนื่องจากบริษัทขอเพิกถอนโดยสมัครใจจำนวน 1 บริษัท ค่า M-Score เท่ากับ 1.32 (M-Score > -2.22) และบริษัทในกุล่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ สาเหตุเพิกถอนหลักทรัพย์เนื่องจากบริษัทถูกควบรวมจำนวน 1 บริษัท ค่า M-Score เท่ากับ 2.46 (M-Score > -2.22)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. (2561). ย้อนรอยมหากาพย์จาก PICNI สู่ WP. [Online]. เข้าถึงจาก
https://www.kaohoon.com/content/214091. (สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563)
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์. (2555). ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2555. [Online]. เข้าถึงจาก https://www.set.or.th/dat/content/rule/th/7(Bor.Jor-
Phor01-00)Eff01042562TH.pdf. (สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563)
จุรีพร อัศวะอิทธิฤทธิ์ และ ชุติมา นาคประสิทธิ์. (2559). การตรวจสอบการตกแต่งกำไรโดยแบบจำลอง M-Score : กรณีศึกษา
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงจาก http://www.icmsit.ssru.ac.th. (สืบค้นเมื่อ
22 กุมภาพันธ์ 2563)
ศิริพร ถมยาพิทักษ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมของบริษัทจดทะเบีนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [Online]. เข้าถึงจาก
http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031707_5234_4042.pdf. (สืบค้นเมื่อ 19
กุมภาพันธ์ 2563)
สรศาสตร์ สุขเจริญสินและปิริยดา สุขเจริญสิน. (2556). โครงการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาตลาดทุนและประเมินศักยภาพ
ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(AEC): การวัดเสถียรภาพ
จากโอกาสในการตกแต่งกำไรของตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. [Online]. เข้าถึงจาก
http://rc.nida.ac.th/th/research/45-2558/205-aec. (สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563)
Amaechi and Micheal. (2018) Treat of Bankruptcy and Earnings Management in Nigerian Listed Banks.
Economica, 14(3)
Association of Certified Fraud Examiner : ACFE (2015) Number of Accounting Fraud Cases Continues to Ris.
[Online]. เข้าถึงจาก https://www.accountingweb.com/aa/standards/number-of-accounting-fraud-cases-
continues-to-rise. (สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563)
Beneish. (1999). The Detection of Earnings Manipulation. Financial Analyst Journal, p.24-36.
Beneish. (1999). M.D. and D. ClNichols. (2005). Earning s Quality and Future Returns : the Relation between
accruals and the Propability of Earnings Manipulation. Indiana University workingpaper.
Dechow, P. M., Sloan, R. G. and Sweeney, A.P. (1995). Detecting Earnings Management. The Accounting
Review. 70(2) :p.193-225.
Mark Warshavsky. (2012). Analyzing Earnings Quality as a Financial Forensic Tool. FVLE Issue-39
October/November. P.16-20