การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนควบคู่กับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนและผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนควบคู่กับผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม วิธีการดำเนินงานวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารหลักฐานการสังเกตแบบไม่มี ส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกาะลัดอีแท่น ผู้ประกอบการและสมาชิกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และนักท่องเที่ยว ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม รวมทั้งหมด 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพทั่วไปและปัญหาของการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนและผลิตภัณฑ์ OTOP ได้แก่ ไม่มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ออกแบบไว้ยังไม่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยว บรรจุภัณฑ์สินค้าไม่มีเอกลักษณ์ และผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และ (2) แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนควบคู่กับผลิตภัณฑ์ OTOP ได้แก่ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและผ่านที่ช่องทางที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์
จัดกิจกรรมที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชุมชนเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและมีเอกลักษณ์ รวมถึงมีการขอ การรับรองคุณภาพสินค้า
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2546).ความหมายของการท่องเที่ยว.เข้าถึงได้จาก: https://tourismatbuu.wordpress.com, 5 พฤศจิกายน 2562
เฮนรี่ ฟาโยล (Henry Fayol : 1841-1925) (อ้างถึงใน ชมภูนุช หุ่นนาค). (2559). เอกสารประกอบการสอนรหัสวิชา IPA 6101 แนวคิดและทฤษฎีด้านรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตและรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต,วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2558). คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่ ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท บีทีเอส เพรส.
นงค์เยาว์ สุวรรณภาศักดิ์. (2546). ส่วนผสมทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ชูชาติ เผ่าหนอง. (2548). กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ .วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นพมาศ ภูมิวุฒิสาร. (2543). การจัดการส่งเสริมการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546, น. 53). ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix).