ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสถาบันการศึกษานานาชาติ

Main Article Content

วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


       การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อสถาบันการศึกษานานาชาติในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  โดยการสนทนากลุ่ม ประชากรในการวิจัยได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ผู้บริหาร อาจารย์ และพนักงานของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งกลุ่มสนทนาเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน รวบรวมโดยใช้แบบสรุปการสนทนากลุ่ม นําเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนา 


            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงภายในที่ส่งผลต่อสถาบันการศึกษานานาชาติที่มีโอกาสเกิดและผลกระทบสูง ทำให้มีลำดับความสำคัญที่สูงมีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านการบริการวิชาการ ด้านการบริหาร และด้านเทคโนโลยี  ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่ส่งผลต่อสถาบันการศึกษานานาชาติที่มีโอกาสเกิดและผลกระทบสูง ทำให้มีลำดับความสำคัญที่สูงมีอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านการแข่งขัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ บุนนาค. (2554). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงสาหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์.
จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2560). ปัจจัยความเสี่ยงบนความท้าทายของการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาใน
ศตวรรษที่ 21. สุทธิปริทัศน์. 31(99). 261 – 273.
เจนเนตร มณีนาค และคณะ. (2548). การบริหารจัดการความเสี่ยงระดบั องค์การจากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไฟนอลการพิมพ์.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.
ธนรัตน์ แต้วัฒนา. (2550 ). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทร์วิโรฒ.
ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
นฤมล สะอาดโฉม. (2549). Risk management การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
นิรภัย จันทร์สวัสด์ิ. (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). (2545). สำนักตรวจสอบภายในและฝ่ายพัฒนาบุคลากร.
กรุงเทพฯ: สำนักตรวจสอบภายในและฝ่ายพัฒนาบุคลากร.
เบญจา รุ่งเรืองศิลป์. (2551). การบริหารจัดการความเสี่ยง เกียรติบัตรคุณภาพของห้องสมุด. วารสารสานัก
หอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 7(2): 31-38.
สาวิตรี ง้วนหอม และนพดล เจนอักษร. (2557). ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 4(3). 115-127.
อัจฉรียา อนันตพงศ์. (2550). การบริหารความเสี่ยงในการบริหารงานพัสดุของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ภาค
นิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร, คณะรัฐศาสตร์,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.