การพัฒนาแบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,076 คน วิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 4 ฉบับ จำแนกตามรายวิชา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ แบบวัดแต่ละฉบับมี 4 สถานการณ์ แต่ละสถานการณ์มีข้อคำถาม 5 ข้อ โดยแต่ละข้อวัดการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโนหนึ่งด้าน ได้แก่ การจับคู่ การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การสรุปหลักการ และการนำหลักการไปใช้ ข้อคำถามแต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก กำหนดให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการคิดวิเคราะห์ พบว่ามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนี IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 แบบวัดการคิดวิเคราะห์แต่ละฉบับมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ความยากง่ายและอำนาจจำแนก ฉบับละ 2 สถานการณ์ โดยมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.20-0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.58 และค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.722- 0.879
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
Baikularb, P., et al. (2015). kānsāng bǣp thotsō̜p wat khwāmsāmāt thāngkān khit wikhro̜ tām nǣokhit khō̜ng mā sā nō samrap nak rīan chan prathom sưksā pī thī hok [Construction of analytical thinking ability test using Marzano’s taxonomy for prathomsuksa VI students]. Srinakharinwirot Academic Journal of Education. 16(2), 115-127.
Chaktrimongkhol, U. (2013). kānphatthanā bǣp wat thaksa kān khit samrap kānpramœ̄n khunnaphāp phū rīan ra dap namat yom sưksā pī thī hok [A development of thinking skills assessment of the students at matthayomsuksa 6]. Bangkok: Educational Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University.
Kanjanawasee, S. (2013). thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Classical test theory]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kanjanawasee, S., Pitayanon, T. & Srisukho, D. (2016). kān lư̄ak chai sathiti thī mo̜ som rap kānwičhai [Choosing appropriate statistics for research]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Marzano, R. J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Ministry of Education. (2008). laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet [Basic education core curriculum, 2008]. Nonthaburi: Printing House of the Agricultural Co-operative Federation of Thailand.
On-nangyai, P. (2012). kānsāng bǣp thotsō̜p wat khwāmsāmāt thāngkān khit wikhro̜ samrap nak rīan chan prathom sưksā pī thī hok samnak kānsưksā Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Construction of analytical thinking ability test for prathomsuksa VI students of Education Division Bangkok Metropolitan]. Master's thesis. Srinakharinwirot University.
Pasunon, P. (2014). khwāmchư̄aman khō̜ng bǣpsō̜pthām nai kānwičhai chœ̄ng parimān [Reliability of questionnaire in quantitative research]. Parichart Journal Thaksin University. 27(1), 144-163.
Praputtam, K., Lapanachokdee, W. & Jantarakantee, E. (2018). kānsāng bǣp wat kān khit wikhro̜ wichā fisik samrap nak rīan namat yom sưksā pī thī sī čhangwat Phra Nakhō̜n Sī ʻAyutthayā [The construction of analytical thinking test in physics for mathayomsuksa 4 students in Phra Nakhon Si Ayutthaya province]. Rajapark Journal. 12(27), 152-169.
Ritcharoon, P. (2014). lakkān wat læ pramœ̄nphon kānsưksā [Principles of educational measurement and evaluation]. Bangkok: House of Kermyst.
Vijitvanna, S. (2022). bǣp wat chœ̄ng sathānakān: pra yuk chai wat khunnalaksana nisai [Situational test: applied to measure characteristics]. Journal of Social Sciences in Measurement Evaluation Statistics and Research. 3(1), 11-19.
Wongsaphan, M. (2013). kān yok radap kānrīanrū khō̜ng nakrīan dūai krabūankān khit wikhro̜ [Improving student learning with analytical thinking]. Journal of Education Thaksin University. 13(2), 125-139.