การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการขับขี่รถบรรทุกเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน

Main Article Content

ศรัณย์ พินิจพะระ
สวนันท์ แดงประเสริฐ
ภราดร เสถียรไชยกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการขับขี่รถบรรทุกเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และ 2) ติดตามและประเมินผลรูปแบบการฝึกทักษะการขับขี่รถบรรทุกเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เป็นการวิจัยและพัฒนาใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาทักษะที่สำคัญสำหรับการจัดทำหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือผู้เชี่ยวชาญในอาชีพจำนวน 10 ท่าน ระยะที่ 2 เป็นการนำผลลัพธ์จากระยะที่ 1
มาพัฒนารูปแบบทักษะการขับขี่รถบรรทุกเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรม จำนวน 10 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานขับรถบรรทุกจำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 ติดตามและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพหลักสูตร และการหาค่าดัชนีประสิทธิภาพของหลักสูตร


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการฝึกทักษะการขับขี่รถบรรทุกเพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียม ขั้นสอน/สาธิต ขั้นเลียนแบบ ขั้นให้แบบฝึกหัด และขั้นทดสอบ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกรายการ โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรโดยรวมสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ หลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา การจัดกิจกรรมแต่ละหน่วย สื่อการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผล มีความเหมาะสมทุกรายการ 2) ผลการติดตามและประเมินผล พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในรูปแบบการฝึกในระดับมากที่สุด ค่าประสิทธิภาพของหลักสูตร มีค่าเท่ากับ 85.14/93.00/96.40 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ยดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.53  และผลการประหยัดพลังงาน พบว่า การใช้พลังงานลดลงร้อยละ 17.57

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, J. (1983). Research in Education. 4ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Practice Hall.

BP Statistical Review of World Energy. (2021). World Energy. 67th Edition. London: Pureprint Group.

Brahmawong, C. (2013). kānthotsō̜p prasitthiphāp sư̄ rư̄ chut kānsō̜n [Development Testing of Media and Instruction Package]. Silapakorn Education Research Journal. 5(1), 1-20.

Goodman, R. I., Fletcher, K. A. and Schneider, E. W. (1980). The Effectiveness Index as Comparative Measure in Media Product Evaluation. Educational Technology. 20(09), 30-40.

Joyce, B. & Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed.) Boston: Allyn and Bacon.

Kerpasit, P. (2018). kānphatthanā rūpbǣp kān fưk ʻoprom samatthana wichāchīp chāng haidrō̜lik ʻutsāhakam [The Development of Training Model for Occupation Competency of Industry Hydraulic Technician]. Doctoral dissertation. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Ketusiri, A. (2016). kānphatthanā rūpbǣp kān rīan bǣp rūammư̄ bon khrư̄akhāi khō̜mphiutœ̄ [Development of a Collaborative Learning Model on Computer Networks]. Doctoral dissertation. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Lawshe, C. H. (1975). A Quantitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology. (28), 563-575.

National Energy Information Center. (2022). sathānakān phalangngān Thai pī Phō̜.Sō̜. 2564. Krung Thēp: krasūang phalangngān [Thai Energy Situation B.E.2021]. Bangkok: Ministry of Energy.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2015). rāng yutthasāt chāt raya yīsip pī (Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip - sō̜ngphanhārō̜ičhetsipkāo) [Draft of the 20-years national strategy (2017-2036)] Retrieved from https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000362.PDF

Phengpinyo, W., Sintanakul, K. & Nomphonkrang, T. (2021). kānphatthanā rūpbǣp kānčhatkān rīanrū tām phǣnkān sō̜n thān samatthana dōi chai panhā pen thān rūam kap kān ʻāng hētphon dūai thān kō̜ranī [The Development of Competency-Based Learning Using Problem-Based Learning with Case-Based Reasoning]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 15(3), 179-191.

Plumchit, W., Yuphong, S. and Poolkrajang, A. (2021). kānphatthanā laksūt fưk ʻoprom hūanā ngān thurakit khonsong sinkhā nai prathēt [Development on Training Curriculum for Transportation Supervisor in Domestic Logistics Business]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 15(1), 154-162.

Poolkrajang, A. (2014). kānphatthanā laksūt fưk ʻoprom kānčhat tham phǣnkān patibat samrap khrū fưk ʻāchīp khō̜ng rōngrīan fưk ʻāchīp Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Training Program Development for a Practical Plan for Teacher Training at Bangkok Vocation Training Schools]. Journal of Education Studies. 42(2), 164-177.

Saniul, A. & Aonghus, M. (2014). A critical review and assessment of Eco-Driving policy & techonology: Benefits & limitations. Transport Policy. 35, 42-49.

Satienchaiyakij, P. (2012). kānphatthanā rūpbǣp kān fưk ʻoprom bǣp phasomphasān tām māttrathān ʻāchīp chāng sō̜m bamrung nai rōngngān ʻutsāhakam [The Development Blended Training Model Based on Plant Maintenance Occupational Standard]. Doctoral dissertation. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Walnum, H. J. and Simonsen, M. (2015). Does driving behaviors matter? An analysis of fuel consumption data from heavy-duty trucks. Transportation Research Part D. 36, 107-120.