ผลการใช้ระบบการประเมินฐานสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูต่อระบบการประเมินฐานสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อระบบการประเมินฐานสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 6 คน ครูจำนวน 6 คน และนักเรียน จำนวน 37 คน จากโรงเรียนสามสังกัด (กทม. สช. และ อว.) โดยคณะผู้วิจัยดำเนินการเลือกมาศึกษา อย่างมีจุดมุ่งหมาย คุณภาพด้านประสิทธิภาพประเมินโดยใช้แบบวัดความ พึงพอใจต่อระบบ 5 ด้าน (α = .87) สำหรับผู้บริหารและครู และด้านประสิทธิผลประเมินจากแบบ วัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อระบบ (α = .89) ซึ่งเครื่องมือทั้ง 2 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ค่าตามแบบลิคเคิร์ท หลังจากนั้นทำการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้างจากกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจให้ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูในภาพรวมต่อระบบการประเมินฐานสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ( =4.28, SD=0.53) และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริหารมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครูอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับ ผลการสัมภาษณ์ของผู้บริหารและครู 2) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อระบบการประเมินฐานสมรรถนะ โดยใช้แฟ้มแสดงหลักฐานการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับสูงที่สุด (
=4.32, SD=0.90)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
Agarwal, P. & Prasad, J. (1997). The role of innovation characteristic and perceived voluntariness in the acceptance of information technologies. Houston: Decision Sciences.
Buzzetto-More, N. (2010). The E-portfolio paradigm: informing, educating, assessing, and managing with e-portfolios. Santa Rosa, CA: Informing Science Press.
Chankachon, K. (2008). kānphattanā phǭtfōli‘ō ‘ilektrǭnik phư̄a kānwatpramœ̄n kānrīanrū khǭng nakrīan chanmatthayomsưksā pī thī Sām Rōngrīansāthit Mahāwitthayālai Sīnakharinwirōt Pathum Wan [An electronic portfolio model development for assessing students’ learning]. Master’s thesis, Srinakharinwirot University.
Chongcharoen, S. (2005). kānwikhrǫ chœ̄ng sathiti bǣp mai chai phārāmitœ̄ [Nonparametric statistical analysis]. Bangkok: academic paper promotion project National Institute of Development Administration.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3), 319-340.
Farrell, O. (2019). Developing critical thinking through e-portfolio based learning: an exploration of the experiences of non-traditional online distance learners. Doctoral dissertation. Trinity College Dublin.
Forker, J. E. & McDonald, M. E. (1996). Methodologic trends in the healthcare professions: portfolio assessment. Nurse Educator. 21(5), 9-10.
Linn, R. L., Baker, E. L., & Dunbar, S. B. (1991). Complex, performance-based assessment; expectations and validation criteria. Educational Researcher. 20(8), 15-21.
Ministry of Education. (2008). laksūt kǣklāng kānsưksā khanphư̄nthān Phutthasakkarāt 2551 [Basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008)]. Bangkok: Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd.
NESA, N. E. (2021). NSW government education standards. Retrieved from https://www.educationstandards.nsw.edu.au/.
Office of the Education Council. (2017). rāingān kānwikhrǫ samatthana læ kānpatibat ngān dān kānwatlæpramœ̄n khǭng khrū nai radap kānsưksā khanphư̄nthān [Performance analysis and basic education level teacher’s assessment operation report]. Bangkok: Prikwan graphic company Ltd.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). yutthasāt chāt raya yīsip pī (2018 – 2037) [National strategy (2018 – 2037)]. Retrieved from www.nesdb.go.th.
Pasiphol, S. & Sotthayakom, P. (2016). kānphatthanā rūpbǣp fǣm sasom phonngān ‘ilektrǭnik thī sathǭn khǭmūnyǭnklap nai kānpramœ̄n phatthanā kānrīanrū khǭng nakrīan radap prathomsưksā [Development of electronic portfolio model to assess learning development of elementary school student]. Kasetsart Journal of Social Science. 37(3), 291-305.
Sawatnatee, A. & Piriyasurawong, P. (2015). rūpbǣp fǣm sasom phonngān ‘ilektrǭnik samrap kānnithēt kānfưkprasopkānwichāchīp dānkhǭmphiutœ̄ bǣp phasomphasān phān ‘uppakǭn samātfōn nai mahāwitthayālai rātchaphat [A model of electronic portfolio for blended supervision in professional experiences on computer by smartphone device in Rajabhat University]. VRU Research and Development Journal Science and Technology. 10(2), 13-22.
Thongjan, P. (2018). kānphatthanā e - Portfolio samrap nakrīan sadǣng phon phān Smart Phone dūai kānprayukchai QR Code [The development of electronic student portfolio displayed on smartphone by applying QR code]. The Journal of Social Communication Innovation. 6(1), 188-197.