ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

สมบัติ คชสิทธิ์
อรสา จรูญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.921 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นบันได
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี 4 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด คือ ตัวแปรการเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่มีชื่อเสียง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.268 รองลงมา คือ ตัวแปรการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ตัวแปรการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และตัวแปรบรรยากาศการเรียนการสอน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.221, 0.168, 0.155 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาสังกัดคณะครุศาสตร์ได้ร้อยละ 63.80 และสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ การรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง = 0.350 (เป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่มีชื่อเสียง) +0.302 (การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว) + 0.229 (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา) + 0.198 (บรรยากาศการเรียนการสอน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1977). Social Learning, theory. New Jersey: Pretice. Hall.

Bandura, A. (1986). Social foundations of though and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Bhiromrat, K. (2010). patčhai thī samphan kap phrưttikam kāndamnœ̄n chīwit tām pratyā sētthakit phō̜phīang khō̜ng naksưksā mahāwitthayālai rātchaphat Phra Nakhō̜n Sī ʻAyutthayā [Students conduct of Rajabhat Unversities in Bangkok on the way of self-sufficient economy]. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Premtice-Hall.

Hurlock, E. B. (1974). Development Psychology. New Delgi: Tata Megraw-Hill.

Office of the Education Council. (2010). phǣnkān sưksā hǣ chāt chabap prapprung (Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihāsipsō̜ng - sō̜ngphanhārō̜ihāsipkāo) : chabap sarup. Bangkok: Phrik Wan Graphic.

Ryans, David G. (1960). Characteristics of teachers: Their description, comparison, and appraisal, a research study. Washington, D.C.: American Council on Education.

Schumacher, R. E. & Lomax, R. G. (1996). A beginner’s guide to structural equation

modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Tekhanmag, K. (2013). phrưttikam kāndamnœ̄n chīwit tām lak pratyā sētthakit phō̜phīang khō̜ng naksưksā mahāwitthayālai rātchaphat nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Factors Related to Life Styles by Sufficiency Economy Philosophy of Students of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University].Phra Nakhon Si Ayutthaya: Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. NewYork: Harper and Row Publication.