การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาในสังคมไทยยุคปัจจุบัน

Main Article Content

กิตติชัย สุธาสิโนบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาในสังคมไทยยุคปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ และทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาในสังคมไทยยุคปัจจุบันที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นพัฒนาสติสัมปชัญญะ ขั้นที่ 2 ขั้นสะท้อนแนวคิดและประสบการณ์ ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาปัญญา ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติอย่างเป็นองค์รวม ขั้นที่ 5 ขั้นปรับแต่งและลงข้อสรุป ขั้นที่ 6 ขั้นตระหนักรู้หลักธรรมสู่การนำไปใช้ และขั้นที่ 7 ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งผู้วิจัยเรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ว่า Mindfulness Based Learning Model : MBL 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีสติเป็นฐานการเรียนรู้ฯ ผลการประเมิน ผู้เชี่ยวชาญ  มีความคิดเห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.79, S.D.=0.32)  3) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยวินัยในการเรียนของผู้เรียน ทักษะทางสังคมของผู้เรียน เจตคติต่อการเรียนของผู้เรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jacobs, M. P., & Fiese, B. H. (2007). Family mealtime interactions and overweight children with asthma: Potential for compounded risks. Journal of Pediatric Psychology, 32(1), 64-68.

Khemmani, T. (2016). thit nā khǣm manī [Teaching science: Knowledge for effective learning process management]. (20th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.

Office of the Education Council. (2017). samnakngān lēkhāthikān saphā kānsưksā [National education plan 2017-2036]. (2nd ed). Bangkok: phrik wan Graphic design.

Office of the Education Council. (2019). samnakngān lēkhāthikān saphā kānsưksā [National educational standards 2018]. Bangkok: 21 Century Company Limited.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2004). phra phrom khunāphō̜n (Por A. payuttō) [Know the principles first, then study and teach to be effective]. (2nded). Bangkok: Teachers Council of Thailand Printing.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2005). phra phrom khunāphō̜n (Por A. payuttō) [Towards Buddhist education]. (6th ed). Bangkok: Publisher Dharma.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2009). phra phrom khunāphō̜n (Por A. payuttō) [General education for humanity]. Bangkok: General Education Management Center, Srinakharinwirot University.

Phra Dhammapitaka (P. A. Payutto). (2002). phrathampidok (Por A. payuttō ) [The holistic development of Thai children]. (3rd ed). Bangkok: Publisher Dharma.

Phra MahaHansa Dhammahaso. (2020, February 15). phra mahā hansā mahā [Mindfulness Based Learning Model].

Phucharoen, W. (2020). Vorapatr phū čharœ̄n [Mindfuiness in Action: Can practice the mind easily easily again]. Bangkok: Amarin Dharma.

Somdet Phra Nyanasamvara Somdet Phra Sangharaja Sakalamahasanghaparinayaka. (2013). somdet phra yān sangwō̜n somdet phrasangkharāt sakonmahāsangkhaparināyok. [NyanasamvaraDham: Characteristics and important teachings of Buddhism]. Nakhon Pathom: Sal printing.

Somdet Phra Phutthakasachan (P. A. Payutto). (2018). somdet phra phut khōsā čhā (Por A. payuttō) [Educational concepts of Somdej Phra Buddha Kochachan (Por. Payutto)]. Ang Thong: Worasin Fine Printing.

Suthasinobon, K. (2016). kitti chai suthāsinōbon [Buddhist teaching and learning for moral development for learners]. (2nd ed). Bangkok: Commercial World Media Company Limited.

Reigeluth, C. M. (1983). Instructional-design theories and models: An overview of their current status. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.