การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษา ครูมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในยุคการศึกษาไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นครูที่ต้องการในยุคการศึกษาไทย 4.0 2) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาครู และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในยุคการศึกษาไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 72 คน และ 26 คน ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2561 ตามลำดับ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แผนการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการสร้างความรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินทักษะการสะท้อนความคิด แบบประเมินทักษะพหุภาษา แบบประเมินทักษะดิจิทัล แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 ข้อสอบแบบเลือกตอบและแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 0.83 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลจากการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาครู มี 3 ด้าน คือ ครูเก่ง ครูดี มีทักษะวิชาชีพ สอดคล้องกับ CRU-Ed Model 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในยุคการศึกษาไทย 4.0 ประกอบด้วย 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การจัดการเรียนรู้มี 8 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation) 2.2) ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement) 2.3) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 2.4) ขั้นอธิบายและสรุป (Explanation) 2.5) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 2.6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) 2.7) ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension) และ 2.8) ขั้นแสดงผลงาน (Exhibition) ขั้นที่ 3 สรุปและประเมินผลและ 3) ประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้ผลดังนี้ 1) ด้านครูเก่ง คือ การสร้างองค์ความรู้ในเนื้อหาและการสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครูหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ด้านครูดี คือ มีจิตวิญาณความเป็นครูหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ด้านครูมีทักษะวิชาชีพ คือมี การจัดการเรียนรู้ที่ล้ำยุค ได้แก่ ทักษะดิจิทัล ทักษะพหุภาษา และมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่สนุกสนานหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Education Objective. New York: David Mckay.
Chandrakasem Rajabhat University Council. (2017). kān prap yutthasāt mahāwitthayālai rātchaphat čhanthra kasēm sū khwāmpen lœ̄t [Reprofiling of Chandrakasem Rajabhat University for excellence]. Bangkok: Chandrakasem Rajabhat University Press.
Dachakupt, P. et al. (2017). thaksa čhet C khō̜ng khrū 4.0 [Teachers’ 7c Skill 4.0 Era]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Degener, J. (2018). Multilanguage. Retrieve from https://www.goethe.de/ins/th/ Multilanguage.
Gagnon, G. W. and Collay, M. (2001). Designing for learning. Six Elenmentsin Constructivist Classrooms. Thousand Oaks: Corwin Press Inc.
Glasser, R. (1965). Teaching Machine and Program Learning II. Pittsburg: University of Pittsburgh Press.
Johns, C. (2004). Becoming a reflective practitioner. Oxford: Blackwell.
Khammani, T. (2018). sāt kānsō̜n: ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp [Science of teaching for learning Management Efficiency]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kittiyanusun, P. (2009). kān songsœ̄m kān rīanrū dūai tonʻēng khō̜ng nisit : kān sathō̜n čhāk krabūankān wičhai patibatkān [Promoting Self - directed Learning of Student Teachers: Reflection Through Action Research]. Journal of education and Social Development. 5(1-2), 145 – 166.
Klausmeier, H. J. (1985). Educational psychology. (5th ed.) New York: Harper & Row.
Maslow, A. H. (1962). Toward a psychology of being. New York: D Van Nostrand Co. Inc.
Matekul, P. (2016). kānpramœ̄n khwāmtō̜ngkān čhampen nai kānphatthanā kārū thaothan sư̄ dičhithan læ phrưttikam kānchai sư̄ dičhithan nai kānčhatkān rīanrū kǣ phū rīan khō̜ng naksưksā wichāchīp khrū [Need assessment for developing digital literacy and digital media utilization behavior for instruction of student teachers]. Doctoral dissertation. Srinakharinwirot University.
National Science and Technology Development Agency. (2018). kān rū dičhithan (Digital Literacy) [Digital literacy Learning]. Retrieved from https://www.nstda.or.th.
Office of Secretary Teachers’ Council. (2018). khō̜bangkhap khuru saphāwā dūai māttrathān wichāchīp thāngkān sưksā Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihāsiphok [Teachers’ Council Rules for Educational Professional Standard B.E. 2013]. Retrieve from https://www. Ksp.or.th.
Oupakham, P., & Chuenchaichon, Y. (2015). kānchai withī sō̜n tām thritsadī khō̜n satrakchan nit sưm phư̄a songsœ̄m khwāmsāmāt thāngkān phūt phāsā ʻAngkrit khō̜ng nakrīan sākhā wichākān thō̜ngthīeo radap prakāsanīyabat wichāchīp [Implementation of Constructionism Learning Theory to Promote English Speaking Ability of Vocational Students Majoring in Tourism]. Lampang Rajabhat University Journal. 4(2), 115 – 123.
Pandee, P. (2016). kānphatthanā rūpbǣp kān rīanrū sāngsan dūai panyā phư̄a songsœ̄m khwām sāngsan samrap naksưksā khrū [Development of Constructionist Learning Model to Promote Creativity for Teacher-College Students]. Doctoral dissertation. Silpakorn University.
Panich, V. (2012). withī sāng kān rīanrū phư̄a sit nai satawat thī yīsipʻet mūnnithi sot sī - sarit wong [Constructive learning way for disciple in 21 century. Sodsri-Saridwong Foundation]. Bangkok: Tathata Ltd. Press.
Papert, S. (1990). An Introduction to the 5th Anniversary Collection. In Harel, I. (Ed.). Constructionist Learning: A 5th Anniversary Collection of Papers. Cambridge, MA: MIT Media Laboratory.
Phutthathat, P. (2004). tham samrap khrū khambanyāi phra thēp wi sutthi Mēthī (Phutthathāt Phikkhu) Na sūan mōkkhaphalārām ʻamphœ̄ Chaiya čhangwat surātthānī wan thī sī - yīsipkāo Kanyāyon Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isīsipčhet [Moral for teacher. Phathapvisuttimatee’s lecture. Mokaplaram garden. Surat tani. 4-29 september 2004]. Bangkok: Ministry of education.
Rajabhat University Act. (2004). Rātchakitčhānubēksā [Rachakidganubeksa]. 121(Spacial section 23), 2.
Russell, M. (2000). Summarizing Changes in Test Score: Shortcomings of Three Common Method Practical Assessment. Research and Evaluation. Retrieve from http://pareonline.net/getvn.asp?v=7&n=5.
Sinlalat, P. (2019, August, 23). Interview by Tammawoharl, S. [Tape recording].
Tyler, R. W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago press.
White. R. (2019). Children’s Edutainment Center: Learning through Play. Retrieve from https://www.whitehutchinson.com.