การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการเรียนรู้ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง

Main Article Content

สาวอรุณ ศรีโนนยาง
กรวลัย พันธุ์แพ
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่องพันธะโคเวเลนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 41 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินความพึงพอใจ และชุดกิจกรรมปฏิบัติจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t – test for dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะผ่านกิจกรรมปฏิบัติจริง เรื่องพันธะโคเวเลนต์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Duangtanoi, S. (2009). kān khit yāng mī wičhāranayān læ phon samrit thāngkān rīan witthayāsāt rư̄ang watsadu læ sombat khō̜ng watsadu khō̜ng nakrīan chan prathomsưksā pī thī hā thī dai rap kānsō̜n bǣp sư̄pso̜ hākhwām rū [Critical Thinking and Learning Achievement in The Science Topic of “Material and Quality of Material” of Prathomsuksa V Students Using Inquiry Cycle Techniques (Inquiry Cycle)]. Master of education Thesis. Khonkaen University.

Eastwood, L. M. (2013). Fastest Fingers: A Molecule-Building Game for Teaching Organic Chemistry. Journal of Chemical Education. 90, 1038−1041.

Fakkao, S. (2017). thaksa nai satawat thī yīsipʻet [21st century skills]. Retrieved from http://web.chandra.ac.th/.

Jeenjankit, U. (2012). kānphatthanā sūn bō̜rikān ʻō̜nlai dān kānčhatkān rīan kānsō̜n wichā khēmī dūai withī sư̄pso̜ hākhwām rū [Development an Online-Service Center of Chemistry Teaching and Learning by Scientific Inquiry 4]. Quality learning foundation.

Ministry of Education. (2016). phǣn phatthanā sētthakit khō̜ng krasūang sưksāthikān [Education development plan vol.12]. Bangkok.

National Institute of Educational Testing Service. (2017). khanǣn ʻōnet [O-net score]. Retrieved from http:// www.niets.or.th.

Sodesiri, N. (2015). phon khō̜ng kānchai bǣp fưk sœ̄m thaksa rư̄ang phanthakhēmī dōi kānčhatkān rīanrū bǣp sư̄pso̜ hākhwām rū samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī [Effects of Using Supplementary Exercises on Chemistry Bond Via Inquiry Learning Actities for Mathayomsuksa IV Students]. Master of education Thesis. Burirum Rajaphat University.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2003). kānčhat sāra kān rīanrū klum witthayāsāt laksūt kānsưksā naphư̄n thān [The Basic Education Core Curriculum (Science)]. Bangkok.