การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จเร ลวนางกูร (Jarea Lavananggoon)
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (Tweesak Chindanuruk)
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (Nuanjid Chaowakeratipong)
ไสว ฟักขาว (Sawai Fakkao)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนตามขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและเรียนตามปกติ และ (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดขั้นสูงหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนตามขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเรียนตามปกติ การดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน 2) การนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนไปใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 38 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดขั้นสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอน 7  ขั้นได้แก่ (1) ขั้นเผชิญปัญหา (2) ขั้นสำรวจความรู้ (3) ขั้นตรวจสอบความรู้ (4) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ (5) ขั้นสะท้อนความคิด (6) ขั้นสรุปความรู้  และ (7) ขั้นนำความรู้ไปใช้    2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีคะแนนด้านความสามารถในการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anthony, G. (1996). Active learning in a constructivist framework. Educational Studies in Mathematic. 31(4), 349 – 369.

Chareonwongsak, K. (2015). kān khit chœ̄ng wikhro [Analytical thinking]. 5th ed. Bangkok: Success Media.

Child, D. (1993). Psychology and the teacher. 5th ed. London: Holt, Rinchart & Winston.

Department of Curriculum and Instruction Development. (2003). kānčhat sāra kān rīanrū klum sāra kān rīanrū witthayāsāt [Learning content management, science learning substance]. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Dewey, J. (1976). Moral principle in education. Boston: Houghton Mifflin Co.

Drillcoll, M. P. (1994). Psychology of learning for instruction. Boston: All and Bacon.

Ennis, R. H. (1989). Critical thinking and subject specificty: classification and needed research. Educational Researcher. 18 (April 1989), 4 -10.

Gredler, M. E. (1997). Learning and instruction theory into practice. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Khammani, T. (2014). rūpbǣp kānsō̜n : thāng lư̄ak thī lāklāI [Instructional model : various choices]. 8th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phye, G. D. & Andre, T. (1986). Cognitive classroom learning understanding, thinking, and problem solving. London: Academic Press Inc.

Seels, B. & Glasgow, Z. (1990). Exercises in instructional design. Columbus, OH: Merrill

Shambaugh, R. N. & Magliaro, S. L. (1997). Mastering the possibilities. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Torrance, E. P. (1964). Education and the creative potential. Minneapolis: The Lund Press.

Woolfolk, A. E. (1995). Educational Psychology. 6th ed. Boston: Allyn and Bacon.