การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองของเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษาในการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองของเด็กและเยาวชน และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองของเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษาในการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำการดำเนินการวิจัยในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดกำแพงเพชร แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนาโปรแกรม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มกับคนในชุมชน จำนวน 30 คน และเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา จำนวน 30 คน ระยะที่สองเป็นการทดลองใช้โปรแกรม และระยะที่สามประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 และ 3 ประกอบด้วยคนในชุมชน อำเภอละ 30 คน และเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา อำเภอละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินและแบบสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) โปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคนในชุมชนและเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา จำนวน 2 วัน โดยวันแรกเป็นสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในกลุ่มเด็กและเยาวชนและสร้างความเข้าใจของคนในชุมชนต่อความสามารถของเด็ก วันที่สองเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมโดยให้คนในชุมชนและเด็กและเยาวชนคิดกิจกรรม/โครงการที่จะไปทำในชุมชน และระยะที่สองของโปรแกรมฯ เป็นการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม
2) การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองของเด็กและเยาวชนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เด็กและเยาวชนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากการติดตามการนำไปขยายผลในพื้นที่ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่าเด็กและเยาวชนมีการขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่โดยจัดทำเป็นโครงการ จำนวน 32 โครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 720 คน ลักษณะโครงการที่จัดเป็นการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมโดยคนในชุมชนเป็นผู้คอยสนับสนุน และในบางกิจกรรมคนในชุมชนร่วมเป็นเป็นวิทยากร ทั้งนี้ผลการประเมินความพึงพอใจของคนที่เข้าร่วมโครงการในระยะขยายผลอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กิตติวงค์ สาสวด และปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา, วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 116-124.
ธนัชชา รอดกันภัย และเสน่ห์ บุญกำเนิด. (2560). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง กรณีศึกษานักศึกษา กศน. ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทัศน์, 9(2), 132-140. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/issue/view/9260.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสารเสพติดในเด็กและเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์มุนษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 89-96. สืบค้นจาก
https://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/2121/10/10.pdf .
พระสุทัศน์ พันธุ์ศุภผล. (2559). รูปแบบการดําเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบลจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 10(1), 184-195. สืบค้นจาก
https://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2559Vol10No1_24.pdf.
เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2559). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชน พื้นที่เขตหนองแขม กรุงเทพฯ.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 39-49.
วรางคณา จันทร์คง และปาจรย์ ผลประเสริฐ. (2561). แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา ในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(1), 65-74.
วราภรณ์ กุประดิษฐ์ นีออน พิณประดิษฐ์ และศรินทิพย์ รักษาสัตย์. (2551). การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดในเยาวชน, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2(2), 93-106.
วลัดดาวัลย์ เชาว์วิวัฒน์. (2556). อะไรคือ สาเหตุที่เยาวชนเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด. สืบค้นจาก https://nctc.oncb.go.th/ewt_news.php?nid=369&filename=index. สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
เสมอ แสงสนธ์ สุนทรี ดวงทิพย์ และปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2559). ยุทธศาสต์การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในเยาวชน โดยชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วาสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(1), 107-118. สืบค้นจาก https://management.kpru.ac.th/wp-content/uploads/2017/07/fms_research59_26.pdf.
Hawkins, J.D.; Catalano, R.F.; and Arthur, M. (2002). Promoting science based prevention in communities. Addictive Behaviors. 90(5):1–26.
National Institute on Drug Abuse. (2003). Preventing Drug Use among Children and Adolescents : A Research-Based Guide for Parent, Educators, and Community leaders. 2nd. From https://www.drugabuse.gov/sites/default/files/preventingdruguse_2.pdf.