ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติต่องานบริการ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล แรงจูงใจในการทำงาน และความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้วยจิตบริการ กับพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2560 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทัศนคติต่องานบริการ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล แรงจูงใจในการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้วยจิตบริการ และพฤติกรรมจิตบริการ แบบสอบถามมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.78 และความเชื่อมั่นของครอนบาค 0.73 - 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และแรงจูงใจในการทำงานการ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมจิตบริการ (r = 0.577 และ r = 0.351, p < 0.01 ตามลำดับ) ส่วนทัศนคติต่องานบริการ และความรู้เกี่ยวกับการทำงานด้วยจิตบริการ ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตบริการ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและแรงจูงใจในการทำงานส่งผลต่อพฤติกรรมจิตบริการของบุคลากรสายสนับสนุน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 37.9 (R2 = 0.379, p < 0.001)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กิตติพร เนาว์สุวรรณ ประไพพิศ สิงหเสม สินีนาฏ เนาสุวรรณ และอัจฉรา คำมะทิตย์. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), 51-62.
นิภาพร นิกรศิริ. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง กรณีศึกษา: องค์กรภาคเอกชนในประเทศไทยที่ใช้ระบบการบริหารจัดการบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 7(2): 4-19.
มนต์จรัส วัชรสิงห์ เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์ และสุนทรี ศักดิ์ศรี. (2558). จิตบริการและแรงจูงใจในการ ทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. 8(2), 115-131.
อริสรา อินทรขุนทศ อภิชาติ ใจอารีย์ และประสงค์ ตันพิชัย. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานระดับปฏิบัติการ โรงแรมระดับ 3 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(3), 1083-1097.
Torpie, K. (2014). Customer service vs. Patient care. Patient Experience Journal, 1(2), 6-8.
Vongsarayankura, S. (2014). Ombudsman function to enhance social trust and quality of public service. Journal of Thai Ombudsman, 7(2), 7-12.