การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการน าตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปลองใช้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนา รหัส ส 23105 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจัดเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 1 ห้องเรียน 49 คน และกลุ่มควบคุม ซึ่งเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบปกติจำนวน 1 ห้องเรียน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน 3) ขั้นการจัดการเรียนการสอน มี 4 ขั้น คือ เรียนรู้ประสบการณ์ที่จำเป็น ทบทวนและไตร่ตรอง สร้างความคิดรวบยอด ประยุกต์ใช้ตามสภาพจริง และ 4) ประเมินผล
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ 1) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมการเรียนด้วยการนำตนเอง ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเชื่อมั่นภาพรวมอยู่ในระดับดี 4) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
เกษม วัฒนชัย. (2545.) การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เขมณัฎฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บเชิงบูรณาการระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเรียนด้วยการนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฬารัตน์ เพชรวิเศษ. (2554). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อพัฒนาสมรรถนะความรอบรู้แห่งตนสำหรับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญาณิพนธ์ กศ.ด. วิทยาศาสตรศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา สำเร็จผล. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเวศ วะสี. (ม.ป.ป.). สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ปฏิรูปทางปัญญา พาชาติออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2550). โครงการวิจัยบูรณาการ การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. ม.ป.ท.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). กระบวนทัศน์ใหม่: การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอส พี พริ้นติ้ง.
วิลาสินี พลอยเลื่อมแสง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นกระบวนการและผลงานร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการนำตัวเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจของนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Conner, M. L. (1997). Learning from Experience. (n.p.): Ageless Learner.
Guglielmino, L. M. (1997). Development of the self – directed learning readinessscale.
Evans, N. (1994). Experiential Learning for All. New York: Cassel.
Jaques, D. (1993). Designing and Evaluation Courses. New South Wales: Educational Methods Unit. Oxford Brooke University
Joyce, B. and Weil, M. (1996). Model of Teaching. Toronto: Allyn & Baoon.
Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Newman, F. (1993). Traditional Crafts and Educational Leadership Tips. 50 (7), 8-12