ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

เมษา นวลศรี (Mesa Nuansri)
ยุภาพร นอกเมือง (Yupaporn Nokmueang)

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักศึกษา คุณลักษณะของอาจารย์ สภาพแวดล้อม/สื่อและสิ่งสนับสนุน กลุ่มเพื่อนและบุคคลแวดล้อมการสนับสนุนจากครอบครัวกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 3) สร้างสมการทำนายความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงแบบวิธีสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษา คุณลักษณะของอาจารย์ สภาพแวดล้อม/สื่อและสิ่งสนับสนุน กลุ่มเพื่อนและบุคคลแวดล้อม และการสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.67 2) ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษา (X1) และกลุ่มเพื่อนและบุคคลแวดล้อม (X4) สามารถร่วมกันทำนายความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยทั้งสองตัวแปรร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 48.40 และ 3) สมการทำนายความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ 1) สมการทำนายความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา ในรูปคะแนนดิบ คือ Yˆ = 1.311 + 0.452X1 + 0.180X4  2) สมการทำนายความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = 0.554ZX1 + 0.220ZX4


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beamukda, P. (2015). The Innovative Design Education System Sustainability by the Principles of Buddhism: A Case Study Concept and Vision of Steve Jobs. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 133-145.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. San Diego, CA Academic. Press.

Kaiyawan, Y (2013). kān wikhro̜ sathiti lāi tūaprǣ samrap ngānwičhai [Multivariate statistical analysis for research]. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House.

Kanjanawasee, S. (2005). thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Classical test theory]. Bangkok: Chulalongkorn University.

Layard, R. (2005). Happiness: Lessons from a New Science. London: Penguin.

Nunnally, J. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.

Office of the National Education Commission. (2002). phrarātchabanyat kānsưksā ǣng chāt Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isīsipsō̜ng læ thī kǣkhai phœ̄mtœ̄m (chabap thī sō̜ng) Phō̜.Sō̜. 2545. [National Education Act, 1999 and amended (No. 2) 2002. Bangkok: Prigwan Graphic.

Palmer, J. A. (1998). Environmental Education in the 21st Century: Theory, Practice, Progress and Promise: Routledge, London.

Promote academic and registration, Valaya Alongkorn Rajabhat University under Royal Patronage, Office. (2018). Retrieved from http://acad.vru.ac.th/about_acad/ac_StudentActive.php.

Sinsawat, P. & Pittard, B. (2016). khwāmsamphan rawāng patčhai khat san kap khunnaphāp chīwit khō̜ng naksưksā phayābān witthayālai phayābān bō̜rom rāt chonnanī rāt burī [Relationship between selected factors and quality of life of nursing students at Boromarajonani College of Nursing], Ratchaburi. Journal of Kueakarun, 23(1).

Thongsom, P. (2011). kānphatthanā datchanī chī wat khwām suk nai kān rīan khō̜ng naksưksā laksūt phayābān sāttra bandit sangkat krasūang sāthāranasuk [Development of learning happiness index of Bachelor of Nursing Science students under the Ministry of Public Health]. Nursing and Education, 4(1), 88-111.

Trangkasombat, U. (2000). panhā kān rīan læ theknik chūai hai lūk rīan dī [Learning problems and technic can help children learn better]. Bangkok: Family Research and Development Center.

Wasi, P. (2005). phǣnthī khwām suk [Happiness map]. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/5544

Wiboonsuk, S. & Boonsawat, N. (2015). patčhai thī song phon tō̜ kān rīanrū yāng mī khwām suk khō̜ng naksưksā phǣt radap chan prī khlinik [Factors affecting happy learning of preclinical medical students]. Medical records of Siriraj. 8(2). 70-76.

Wiratchai, N. (2012). kānkamnot khanāt tūayāng læ sathiti wikhro̜ mai mai thī nāsončhai [Specifying sample sizes and interesting new analytical statistics]. Lecture notes ‘Twilight Program’ 2012 National Research Presentation (Thailand Research EXPO 2012) at the Bangkok Convention Center Central World Ratchaprasong, Bangkok, Saturday 25 August 2012.

Wongwanit, S. (2005). kānwičhai pramœ̄n khwāmtō̜ngkān čhampen [Needs assessment research]. Bangkok: Chulalongkorn University.