การพัฒนาเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความมีจิตอาสาของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยเรื่อง การพัฒนามาตรวัดความมีจิตอาสาของนักศึกษาครู: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความมีจิตอาสาของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นมาตรวัดความมีจิตอาสาของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งหมด 41 ข้อ มีค่าดัชนี IOC ตั้งแต่ .60 – 1.00 มีค่าความเที่ยงแบบวิธีสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ .96 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมของมาตรวัดทั้งฉบับมีค่าพิสัยตั้งแต่ 0.41 – 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง และพัฒนาเกณฑ์ปกติด้วยวิธีแปลงคะแนนดิบเป็นเปอร์เซ็นไทล์ และคะแนนทีปกติ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์ปกติของคะแนนความมีจิตอาสาของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T18.56 ถึง T78.65 (P.08 – P99.79)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
Clark-Carter, D. (2005). Percentiles. In B.S. Everitt & D.C. Howell (eds.), Encyclopedia of Statistics in Behavioral Science, 3, 1539-1540.
Kanjanawasee, S. (2005). thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Classical test theory]. Bangkok: Chulalongkorn University.
Kerdthamai, W. (2011). patčhai thī mī phon tō̜ phrưttikam čhit ʻāsā khō̜ng prachāchon nai kō̜ngphon thahān pư̄nyai tō̜sū ʻākātsayān kō̜ranī sưksā mahā ʻuthokkaphai pī sō̜ngphanhārō̜ihāsipsī [Factors affecting volunteer spiritual behavior in the Artillery Combat Artillery Brigade: a case study of the great flood of 2011]. Thesis for master of business administration, public management college of commerce, Burapa university.
Kline, P. (1986). A handbook of test construction: Introduction to psychometric design. London: Methuen.
Lunz, M., Wright, B. D., & Linacre, J. M. (1990). Measuring the impact of judge severity on exammination scores. Applied Measurement in Education. 3, 331-345.
Nunnally, J. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
Office of the Higher Education Commission. (2018). sathiti čhamnūan naksưksā [Statistics of students]. Retrieved from http://www.info.mua.go.th/information/show_all_statdata_table.php?data_show=2.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sipsō̜ng [National Economic and Social Development Plan No. 12]. Retrieved from http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420.
Piyaphimonsit, C. (2009). sō̜ngphanhārō̜ihāsipsō̜ng [Theory of measurement and evaluation]. Retrieved from http://www.watpon.com.
Premtaweetanachot, W. (2014). kānsưksā laksana khō̜ng kānmī sūanrūam nai kitčhakam naksưksā kap khunnalaksana dān čhit ʻāsā khō̜ng nisit naksưksā [Study Characteristics of Participation in Student Activities and Characteristics of Volunteer Spirit of Students in University]. Veridian E-Journal (Humanities, Social Sciences). 7(3), 819 – 833.
Prommapan, B. (2005). sūanprakō̜p khō̜ng bǣp thotsō̜p māttrathān [Elements of standardized test]. In handout for development of learning achievement test unit 8-15. Page 565 – 569. Bangkok: Sukhothai Thummathirat Open University.
Sriboriboon, N. (2007). kānphatthanā mō dē lō̜ chœ̄ng sāhēt khō̜ng čhit ʻāsā khō̜ng nakrīan matthayommasưksā tō̜n plāi nai rōngrīan sangkat samnakngān khana kammakān sưksākhan phư̄nthān [Development of a causal model of students' volunteer mind in the upper secondary schools under the Office of the Basic Education Commission]. Thesis for the degree of master of education program in educational research, faculty of education, Chulalongkorn University.
Wiratchai, N. (1999). mōdēnlitrēn : sathiti wikhro̜ samrap kānwičhai [LISREL model: Statistical analysis for research]. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing Office.
Wongpitak, T. (2013). patčhai čhit miti thī song phon tō̜ phrưttikam čhit ʻāsā khō̜ng nisit Mahāwitthayālai Sīnakharinwirōt [Effect of psychosocial factors to volunteer spirit behavior of undergraduate at Srinakharinwirot University]. Thesis for the master education degree in developmental psychology, Srinakharinwirot University.