ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนาวุฒิ ประกอบผล (Tanawut Prakobpol)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 แห่ง จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ


                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครมี 2 ตัวแปร  ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะสภาพแวดล้อม

          2.  โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\chi&space;2= 46.55, df = 32, p = 0.12, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.018) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 81

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธนาวุฒิ ประกอบผล (Tanawut Prakobpol), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะการบริหารและจัดการ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

References

Chantawanit, S. (2006). withīkān wičhai chœ̄ng khunnaphāp [Qualitative Research Methods]. (14th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.

Chiangrang, S. (2003). kān wikhro̜ sēnthāng khwāmsamphan rawāng patčhai kap kānwičhai khō̜ng khrū prathom sưksā čhangwat chīang rāi [Path Analysis of the Relationship between Factors and Research of Elementary School Teachers Chiang Rai Province]. Master of Education Thesis, Research and Educational Statistics, Chiang Mai University.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1995). Multivariate Data Analysis with Readings. 4th ed. New York: Englewood Cliffs, Prentice Hall.

Hiranwong, A. (2005). patčhai chœ̄ng sāhēt khō̜ng phalit phāp kānwičhai khō̜ng nakkān sưksā sākhā ʻāchīwasưksā nai radap ʻudomsưksā [Causal Factors of Research Productivity of Educators Vocational Education in Higher Education]. Kasetsart Journal, 25(1): 72-81.

Office of the Higher Education Commission. (2017). sathāban ʻudomsưksā nai sangkat [Undergraduate institutions of higher education]. Retrieved 16 December 2017, from http://www.mua.go.th.

Panit, W. (1997). kānbō̜rihān ngān wičhai nǣokhit čhāk prasopkān [Research Management: Ideas from experience]. Bangkok: Duangkamol book.

Tharawatsu, S. (1997). patčhai thī samphan kap kāntham wičhai thāng dān kānsưksā khō̜ng ʻāčhān nai sathāban rātchaphat khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Factors related to research in education of teachers in Rajabhat Institutes, Bangkok]. Doctor of Education Thesis, Higher education, Suan Dusit Rajabhat University.

Schumacher, R. E. & Lomax, R, G. (2004). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.