การศึกษาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนในเขตภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน 2) ศึกษาปัญหาการศึกษาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน 3) เปรียบเทียบการศึกษาการดำเนินงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เปรียบเทียบปัญหาการการศึกษาการดำเนินงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลาง ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการเปรียบเทียบการศึกษาการดำเนินงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน ที่มีเพศ วุฒิการศึกษา อายุ และที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารตำบลที่มีขนาดแตกต่างกันมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลการเปรียบเทียบปัญหาการศึกษาการดำเนินงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคกลางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน ที่มีเพศ วุฒิการศึกษา อายุ ที่แตกต่างกัน มีปัญหาในการดำเนินงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงมหาดไทย. (2550). การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพ ฯ: สำนักนโยบายและแผน สำนักปลัดกระทรวง.
กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2547). ข้อมูลสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานเลขานุการ กระทรวงมหาดไทย.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2550). การสร้างขวนการขับเคลื่อนเศรษษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.
จิระ วรภัย. (2548). ความรู้ความเข้าใจในการทำงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์กรระดับชุมชนระดับตำบล : ศึกษากรณี จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพ ฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นายฐพซัย ทตนนท์. (2556) บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ณัฏฐพงศ์ ชูทัย. (2559). ความแตกต่างระหว่างบุคคล. สืบค้นจาก https://nuttapong.wikispaces.com.
ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ความเป็นมาและความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพ ฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นพพร เมธีอนันต์กุล. (2549). การนำแนวปฏฺบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษาเกษตรลูกค้า ธ.ก.ส. อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพ ฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประเวศ วะสี. (2547). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพ ฯ: ปียอนด์ พับลิสชิง.
ปรีชา สุวรรณภูมิ และคนอื่น ๆ . (2554). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1 ประเทศไทย. ว.สมาคมนักวิจัย. 16(3) กันยายน-ธันวาคม.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2547). รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ส่วนท้องถิ่น.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร ศิรัญญา เสือคง และณัฐฐา รักษ์ถาวรกุล. (2559 ). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3 The 3rd SAU National Interdisciplinary Conference 2016.สืบค้นจาก https://www.sau.ac.th/graduate/research/MBA/SAUNIC_2016_doc_224.pdf.
วินัย ชาติทัต. (2546). ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตําบลกรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดตราด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). การบริหารงานทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพ ฯ : กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2543). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. สืบค้นจาก https://www.odloc.go.th/web.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2557). การขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญและการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของ ประชาชน. เชียงใหม่ : เดือนตุลาคม.