ผลของการใช้กิจกรรมพหุปัญญาเพื่อส่งเสริความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นราวัลลภ์ รัตนวิจิตร
นิธิดา อดิภัทรนันท์
นันทิยา แสงสิน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมพหุปัญญากับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 2) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการเรียนด้วยกิจกรรมพหุปัญญา  กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ลงเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม รหัสวิชา อ 23201 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน โรงเรียนแม่พริกวิทยา อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง  เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม พหุปัญญา จำนวน 7 แผน โดยแผนการจัด การเรียนรู้มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบประเมินความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ด้าน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00  และ 3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที แบบ Dependent


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยกิจกรรมพหุปัญญาผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 60  ที่ระดับดีเยี่ยม

       2.  การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยกิจกรรมพหุปัญญาสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมสุขภาพจิต. (2547). คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ” (สำหรับศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น) พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

โฆษิต พระประเสริฐ. (2546). การสร้างแบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โธมัส อาร์มสตรอง. (2542). พหุปัญญาในห้องเรียน: วิธีสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

นันทิยา แสงสิน. (2543). การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ. ภาควิชามัธยมศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เนตรดาว มุ่งหมาย, ประสาท เนืองเฉลิม และประยูร วงศ์จันทรา. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดพหุปัญญา เรื่องบรรยากาศในชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 1(2), 2-9.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ .(2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หฤทัย กาศวิบูลย์. (2549). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้กิจกรรมตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนระดับกำลังพัฒนา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาณิสา สอนสุวิทย์. (2551). การใช้กิจกรรมพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษและเจตคติเชิงบวกของนักเรียนระดับกำลังพัฒนา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

O’Sullivan, B. (2008). Notes on Assessing Speaking. Retrieved from https://.lrc.cornell. edu/ events/past/2008-2009/ papers08/osull1.pdf.

Byrne, D. (1986). Teaching Oral English. California: Longman.

Gardner, H. (1983). Frames of mind: The Theory of multiple intelligences.: London: Granada.

Lightbown, P.M. and Spada N. (1993). How Language are learned (3rd ed.) Oxford: Oxford University Press.

Mahmoud, S.A. (2008). Multiple ways to be smart: Gardener’s Theory of Multiple Intelligences and its educational implications in English teaching and oral communication. Retrieved from https://eric .ed.gov/ ?id= ED502634.

Richards, J, C. and Rogers, T.S. (2001). Approaches and and Methods in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University.