ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบง่าย โดยวิธีการจับสลากจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ หลักสูตร
คหกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน ในภาคการศึกษาที่ 1/2559 ได้มาจำนวนทั้งหมด 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/81.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คลื่น รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรมแบบร่วมมือมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.25, S.D.= 0.64)
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์.
ชาญณรงค์ พวงผกา. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงของโลก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6(2), 102-112.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2551). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาวรถา วีระพันธ์. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยโปรแกรม Publisher 2007. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 10(1), 110-121.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม :มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). การวิจัยการวัดและประเมินผล รวมบทความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รัตนา เพิ่มสิริปัญญา. (2556). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ รายวิชาสุขศึกษา ชุดชีวิตปลอดภัยใส่ใจสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นจากhttps://www.vcharkarn.com/journal/view/6156.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สิริลักษณ์ พงศ์พฤฒิชัย. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเจี้ยนหัว. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6 (2), 85-101.
สุวิทย์ ไวยกุล. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
อรุณ ลิ้มเทียมรัตน์. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชีวิตปลอดภัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. สืบค้นจาก https://www.vcharkarn.com/journal/view/2843.