ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานและระดับการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 242 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ตารางเครจซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสังกัดแต่ละหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการทำงานการประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแรงจูงใจในการทำงานและการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6.ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544). กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5thed. New York: Harper Collins.

Davis, K. & Newstrom, J. W. (1989). Human Behavior at Work: Organization Behavior. 8thed. New York: McGraw-Hill.

Keller, S. & Price, C. (2011). Beyond performance. Hoboken: John Willey & Sons, Inc. 280 p. ISBN 978-1-118-02462-1.

Kidd, J. R. (1973). How Adults Learn. New York: Association Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining sample size for research activities.” Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–609.

Lashley, C. (2001). Empowerment: HR Strategies for Service Excellence. Oxford: Butterworth Heinemann.

McClelland, D. C. (1961). The Achieving society. New York: D. Van Nostrand.

Reichheld, F. F. & Rogers, P. (2005). Motivating through Metrics. Harvard Business Review, September 2005.

Vodacek & Vodackova. (2013). Modern Management in the Theory and Practice. 3thed. Praha: Management Press. 360 p. ISNB 978-80-7261-232-1.