บทบาทของรางวัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ใช้การศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และหลักฐานวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับรางวัลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) อธิบายความหมายและรูปแบบของรางวัลที่นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 2) อธิบายความสำคัญและผลกระทบของการใช้รางวัลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะสำหรับการประยุกต์ใช้รางวัลกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เพื่อให้องค์การได้ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับบทบาทของรางวัล เนื่องจากการให้รางวัลที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานและบริบทของแต่ละองค์การ กลายเป็นประเด็นที่งานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การต้องให้ความสนใจ เพราะองค์การจำเป็นต้องจูงใจพนักงานด้วยการใช้รางวัลเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้รางวัลให้มีความเหมาะสม โดยการสร้างสมดุลระหว่างรางวัลรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่เป็นตัวเงินและรางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน เพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณค่าของพนักงานที่มีความพยายามในการทำงานจนก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การ
ABSTRACT
This article study and analyze on basis of theoretical and empirical evident about rewards from past to present. This study aims 1) to explain the meaning and type of rewards that used in human resource management and 2) to explain the significant and impact of rewards from empirical evident as well as provide recommendations to applying rewards with human resource management. The organization needs to pay more attention to understanding regarding the role of rewards, because the rewards are appropriate and accordance with the employee requirement and organizational context become the topic that human resource management must attention. Since organization has to motivate employee by rewards for reinforcing the job satisfaction. Therefore, it’s absolutely necessary to select the rewards with appropriate. By balancing reward among the various type of rewards, whether the financial rewards and non – financial rewards, because there are as an indicator to the value of employee effort in working and effect to performance efficiency as well as affect to achieve the goal of organization.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา