ปัจจัยเชิงเหตุและผลของความผูกพันกับองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Main Article Content

สุวิมล พิชญไพบูลย์

Abstract

           การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และระดับความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยใช้แนวทางการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 ราย โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่ง ของตัวแปรเชิงประจักษ์ต่าง ๆ  พร้อมทั้งวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง และสัมภาษณ์เจาะลึกจากอาจารย์ และเจ้าหน้าที่

          ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยเชิงเหตุของความผูกพันกับองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ลักษณะการปฏิบัติงานของบุคลากร และความพึงพอใจการปฏิบัติงาน ซึ่งความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ลักษณะงานที่ทำ ความก้าวหน้าในหน้าที่และการก้าวสู่ตำแหน่ง และการบังคับบัญชาให้ความเอาใจใส่และให้ความเป็นธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชา มีอิทธิพลโดยตรงต่อความผูกพันกับองค์กรมากกว่าลักษณะการปฏิบัติงานของบุคลากร และลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุของบุคลากร ระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์กร และรายได้ที่ได้รับต่อเดือนไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความผูกพันกับองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

          บุคลากรจะมีความผูกพันต่อองค์กร จะต้องให้บุคลากรความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติของบุคลากรในองค์กรควรมีความเป็นอิสระในการทำงาน เข้าใจในกระบวนการทำงาน และความหลากหลายของงาน มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นมีตอน และองค์กรให้บุคลากรได้มีเรียนรู้งานด้านต่างๆ อย่างหลากหลายและสม่ำเสมอ บุคลากรจึงพร้อมที่จะทำงาน ควรส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่และการก้าวสู่ตำแหน่ง และผู้บังคับบัญชาให้ความเอาใจใส่และให้ความเป็นธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน

          สำหรับการยอมรับองค์กร และความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร บุคลากรมีความผูกพันกับองค์กร คิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีความทุ่มเทในการปฏิบัติงานและเต็มใจที่จะปฏิบัติงานที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบหากได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ควรส่งเสริมอย่างยิ่ง

ABSTRACT

          The objectives of the research were to explore logical factors which had influences on the organizational commitment of personnel in Rajamangala University of Technology Krungthep, and to measure the level of the commitment to organization of those personnel in Rajamangala University of Technology Krungthep. Qualitative and quantitative data collection was applied in the research. It was carried out with the 399 samples, from the personnel in Rajamangala University of Technology Krungthep. Measurement of data was conducted using Mean, Standard Deviation, Skewness and Kurtosis, empirical parameters, analysis of various Structural Equation Modeling and in-depth interviews of teachers and staff.

          The result of the analysis indicated that the antecedents the commitment to the organization on job performance of personnel in the Rajamangala University of technology Krungthep. To be relation between directly and indirectly include 2 factors such as the performance characteristics of personnel and satisfactory performance. The satisfaction on the performance characteristics include job description advances in functional and into position and command the respect and fairness toward subordinates to effect the direct influence on organizational commitment than the performance characteristics of the personnel and personnel characteristic consist of age period in organization and income per month no effect to direct with relationship in organization. Personnel relate with organization have to satisfaction performance such as job performance in organization to independent work, understanding of the work process, variety of tasks, the system for working and step by step. Personnel can learn everything. There has been encouraging progress in duties and to be fair to subordinates.

          The enterprise personnel think of themselves as part of the organization and dedicated and willing to perform tasks.

Article Details

Section
Research Article