เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนรายวิชา ภาคปฏิบัติ: การฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา ในภาคการศึกษาที่ 2/2557 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired Samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนรายวิชาการฝึกสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (t = 11.040) 2) การศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แสดงความเห็นชื่นชมว่า มีประโยชน์ต่อการพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิมากขึ้น จิตใจสงบ เข้าใจในมิตรภาพต่ออาจารย์และเพื่อนๆ มากยิ่งขึ้น ควรจัดการเรียนการสอนรายวิชานี้ต่อไปเพราะมีประโยชน์ จากการสัมภาษณ์พบว่า การสอนของอาจารย์แต่ละท่านได้ให้ความรู้และสติปัญญาสำหรับใช้ดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น วิธีการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติโดยกำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับการนับเลขกำกับไปด้วยทำให้รู้เท่าทันความคิดตนเอง รู้วิธีการจัดการกับความวิตกกังวลต่างๆ ที่จะรบกวนจิตใจในขณะฝึกสมาธิ และความวิตกกังวล ความเครียด ความไม่พอใจต่างๆ ลดลงในช่วง 3 วันสุดท้ายของการปฏิบัติ หลังการปฏิบัติสมาธิผ่านไป 4 วัน มีความรู้สึกในมิตรภาพต่อครูอาจารย์ เพื่อนๆ มากยิ่งขึ้น และกลุ่มตัวอย่าง เสนอแนะว่า ควรเพิ่มระยะเวลาฝึกสมาธิให้มากขึ้น และขยายไปสู่ชั้นปีอื่นๆ เช่น ปีที่ 1 และปีที่ 3
ABSTRACT
The research aimed to 1) compare learning achievement of Practice of Buddhist Meditation Course by comparing the achievement before joining the project, and after joining the project and 2) study the comments and suggestions regarding teaching and learning management. The samples are 66 students of B.A. degree, who learned Practice of Buddhist Meditation Course in 2nd Semester/2014. The tools of the research are questionnaire and formal interview. The statistics are Means, Standard Deviation and Paired Samples t-test
The results of the research are as follows: 1) learning achievement before and after learning Buddhist meditation practice course differed significantly by 0.05. Learning achievement after joining the project is higher than before joining the project (t = 11.040), 2), for the study of the comment and suggestion, the samples appreciated the course because it developed their minds to concentrate more, helps them get inner peace more than before and lets them more understand and more recognize teachers and friends, therefore the program should maintain this course forever. The interviews showed that the teaching of all teachers helped students to gain knowledge and intellect for a better life. To practice Anapanasati Meditation along with a count of the number is useful for having mindfulness and cessation of anxiety in the last 3 days of the practice. All of them acknowledged that after 4 days the practice of Buddhist Meditation Course helped them to more realize friendship among teachers and friends. They all suggested to keep this course for the future and to extend the course to the first and the third year students of the program.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา